พระไตรปิกฏ
พระไตรปิฏกนั้นมีในสมัยหลังจากที่พระพุทธเจ้าปรินิพานแล้ว ๓ เดือน จึงมีการสังคายนา พระไตรปิฎก ครั้งที่ ๑
การสังคายนา พระไตรปิฎก ครั้งที่ ๑
สถานที่ทำ : กระทำที่ถ้ำสัตตบรรณคูหา ข้างภูเขาเวภารบรรพต
เวลาทำ : ทำอยู่ ๗ เดือนจึงสำเร็จ
การกสงฆ์ : พระอรหันต์ขีณาสพ ๕๐๐ รูป
ประธานสงฆ์ : พระมหากัสสปเถระ
ผู้วิสัชชนาพระวินัย : พระอุบาลีเถระ
ผู้วิสัชชนาพระธรรม : พระอานนท์เถระ
ผู้อุปถัมภ์ : พระเจ้าอชาตศัตรู แห่งกรุงราชคฤห์
ขอขอบคุณข้อมูลจากข้อมูลจาก
http://asstudio.info/Library/Council/council.html
จึงมีการนำมาอ้างในปัจจุบันมากมายว่า พระไตรปิฏกเกิดหลังพระพุทธเจ้าปรินิพาน
"อ้าว!!!....อย่างนี้จะเชื่อดีไหม แล้วจะเชื่ออะไรดี ระหว่างพระอรหันต์ ๕๐๐ รูป ที่ทำสังคายนา หรือเชื่อพระทุศีลในปัจจุบันดี"
ลองคิดดูนะครับว่าความต่างระหว่างเรารักษาศีล 5 ยังไม่ครบทุกข้อ หรือไม่ได้รักษาเลย กับคนที่รักษาศีล 5 ครบบริบูรณ์ มันต่างกันนะครับ
และระหว่างพระทุศีลในปัจจุบัน กับพระอรหันต์ มันจะต่างกันขนาดไหน ลองคิดดูดีๆนะครับ
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 572
อรรถกถาปฐมโอวาทสูตรที่ ๖
พึงทราบวินิจฉัยในปฐมโอวาทสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้.
บทว่า อหํ วา ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเพราะเหตุไร.
ตอบว่า เพื่อตั้งพระเถระไว้ในฐานะของพระองค์. ถามว่า พระสารีบุตร
และพระโมคคัลลานะ ไม่มีหรือ. ตอบว่า มี. แต่พระองค์ได้มีความดำริ
อย่างนี้ว่า พระเถระเหล่านี้ จักดำรงอยู่นานไม่ได้. ส่วนกัสสปมีอายุ
๑๒๐ ปี. เมื่อเราปรินิพพานแล้ว กัสสปนั้นจักนั่งในถ้ำสัตตบรรณคูหา
ทำการรวบรวมพระธรรมวินัย ทำเวลาประมาณ ๕,๐๐๐ ปี ของเราให้
เป็นไปได้. เราจึงตั้งเธอไว้ในฐานะของตน. พวกภิกษุจักสำคัญคำของ
กัสสปอันตนพึงฟังด้วยดี. เพราะฉะนั้น พระองค์จึงตรัสอย่างนี้. บทว่า
ทุพฺพจา ความว่า พวกภิกษุพึงเป็นผู้ว่ายาก. บทว่า โทวจสฺสกรเณหิ
คือ ด้วยการทำให้เป็นผู้ว่ายาก. บทว่า อปทกฺขิณคฺคาหิโน ท่านแสดงว่า
ฟังอนุศาสนีแล้ว ไม่รับเอาโดยความเคารพ ไม่ปฏิบัติตามคำสอน เมื่อไม่
ปฏิบัติ เป็นผู้ชื่อว่ารับเอาโดยไม่เคารพ. บทว่า อจฺจาวทนฺเต ความว่า
กล่าวเลยไป คือพูดมากเกินไป เพราะอาศัยการเรียนพระสูตรมาก.
บทว่า โก พหุตร? ภาสิสฺสติ ความว่า เมื่อกล่าวธรรม ย่อมกล่าวว่า
ใครจักกล่าวธรรมมาก. ท่านหรือ หรือว่าเรา. โก สุนฺทรตร? ความว่า
รูปหนึ่ง แม้เมื่อกล่าวมาก ย่อมกล่าวไม่ได้ประโยชน์ ไม่ไพเราะ. รูปหนึ่ง
กล่าวมีประโยชน์ ไพเราะ. ท่านหมายถึงข้อนั้น จึงกล่าวว่า โก สุนฺทรฺตร?
ดังนี้. ส่วนรูปหนึ่ง กล่าวมากละดี ก็ไม่กล่าวนาน เลิกเร็ว. รูปหนึ่ง
ย่อมใช้เวลานาน ท่านหมายถึงข้อนั้น จึงกล่าวว่า โก จิรตรํ ดังนี้.
จบอรรถกถาปฐมโอวาทสูตรที่ ๖
เพียงบทนี้ก็ทราบแล้วว่าพระพุทธเจ้าทราบอยู่แล้วว่าต้องมีพระไตรปิฏกเกิดขึ้นแน่นอน และทราบว่าผู้ใดจะเป็นผู้ที่ทำสังคายนา
เท่านี้น่าจะเป็นคำตอบให้ใครหลายๆคนนะครับว่าจะเชื่อหรือศึกษาอะไรครับ
กล่าวนำและทำความเข้าใจ
กล่าวนำและทำความเข้าใจ
Blog นี้จัดทำขึ้นเนื่องจากการที่ตั้งใจศึกษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าและหลักการปฏิบัติตนตามหลักคำสอนอย่างถูกต้อง
เพราะในปัจจุบันคนเราเน้นการทำบุญโดยเอาความสะดวกสบายและง่ายเข้าว่า โดยบ้างครั้งอาจจะผิดหลักคำสอนจนความตั้งใจทำบุญจริงๆนั้นกลายมาเป็นบาป และบ้างครั้งอาจจะหลงผิดใช้เงินกับการทำบุญที่ผิดวิธีจนได้บาปเช่นกัน แต่เราก็สามารถทำบุญอย่างง่ายๆและถูกต้องได้เช่นกัน ดังนั้นเราจึงต้องรู้หลักการปฏิบัติที่ถูกต้องเพื่อที่จะได้บุญจริงๆ
บทความใน Blog นี้จึงขอมุ่งเน้นหยิบยกเนื้อหาอ้างอิงจากพระไตรปิฏกเป็นหลักและบทความจากผู้ที่ศึกษาพระไตรปิฏกอย่างจริงจังที่น่าจะเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน การทำ Blog นี้มีเจตนาเพื่อเป็นอีกหนึ่งทางที่สำหรับผู้คนอาจจะพบเห็นและได้ศึกษาธรรมมากขึ้น
"การศึกษาอะไรที่ยิ่งใหญ่ อาจจะมาจากเรื่องที่เราสงสัยเล็กๆเพียงเรื่องเดียว"
***ทั้งนี้เนื้อหาที่ได้ลงไปใน Blog ผู้อ่านควรใช้วิจารณญาณและศึกษาจากพระไตรปิฏกควบคู่ไปด้วยเพราะอาจมีการคลาดเคลื่อนของเนื้อหา เพื่อผู้อ่านจะได้รับความรู้ที่ตรงและถูกต้องที่สุดครับ***
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น