กล่าวนำและทำความเข้าใจ

กล่าวนำและทำความเข้าใจ

Blog นี้จัดทำขึ้นเนื่องจากการที่ตั้งใจศึกษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าและหลักการปฏิบัติตนตามหลักคำสอนอย่างถูกต้อง
เพราะในปัจจุบันคนเราเน้นการทำบุญโดยเอาความสะดวกสบายและง่ายเข้าว่า โดยบ้างครั้งอาจจะผิดหลักคำสอนจนความตั้งใจทำบุญจริงๆนั้นกลายมาเป็นบาป และบ้างครั้งอาจจะหลงผิดใช้เงินกับการทำบุญที่ผิดวิธีจนได้บาปเช่นกัน แต่เราก็สามารถทำบุญอย่างง่ายๆและถูกต้องได้เช่นกัน ดังนั้นเราจึงต้องรู้หลักการปฏิบัติที่ถูกต้องเพื่อที่จะได้บุญจริงๆ

บทความใน Blog นี้จึงขอมุ่งเน้นหยิบยกเนื้อหาอ้างอิงจากพระไตรปิฏกเป็นหลักและบทความจากผู้ที่ศึกษาพระไตรปิฏกอย่างจริงจังที่น่าจะเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน การทำ Blog นี้มีเจตนาเพื่อเป็นอีกหนึ่งทางที่สำหรับผู้คนอาจจะพบเห็นและได้ศึกษาธรรมมากขึ้น

"การศึกษาอะไรที่ยิ่งใหญ่ อาจจะมาจากเรื่องที่เราสงสัยเล็กๆเพียงเรื่องเดียว"

***ทั้งนี้เนื้อหาที่ได้ลงไปใน Blog ผู้อ่านควรใช้วิจารณญาณและศึกษาจากพระไตรปิฏกควบคู่ไปด้วยเพราะอาจมีการคลาดเคลื่อนของเนื้อหา เพื่อผู้อ่านจะได้รับความรู้ที่ตรงและถูกต้องที่สุดครับ***

วันอาทิตย์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ความแปลกของคนไทย

ความแปลกของคนไทย



คนไทยเรารับวัฒนธรรมมาจากหลายที่ ซึ่งว่าด้วยเรื่องที่มีเหตุและผล ว่าด้วยเรื่องปฏิบัติตน จึงจะเชื่ออะไรต้องมีเหตุและผล หรือความเชื่อด้านต่างๆที่ตนคิดว่าดี แต่มีความแปลกที่สังเกตุได้ครับ เช่น
- คนบางพวกไม่เชื่อเรื่อง ดวง โชค ลาง แต่ ห้อยพระ ว่ารุ่นนี้ดี รุ่นนี้ใส่แล้วรวย ใส่แล้วสาวชอบ สาวหลง
- คนบางพวกไม่เชื่อเรื่องปีชง แต่ พอมีเคราะห์เลยเชื่อขึ้นมาทันที
- คนบางคนไม่เชื่อเรื่องดูฤก ยาม การตั้งชื่อ การเปลี่ยนชื่อ แต่ ทำกิจการ หรือค้าขาย ต้องชื่อดีๆไว้ก่อน
- คนบางคนไม่เชื่อเรื่องผี วิญญาณ แต่ ที่บ้านมีศาลพระภูมิ ไหว้เจ้าที่ ไหว้เจ้าทาง และกลัวผีด้วย

และอีกมากมายครับที่ดูแล้วมันขัดกับคำพูดของผู้ที่พูด เช่น อย่าเชื่อเรื่องงมงาย แต่กลับกลัวผี ทั้งที่เป็นสิ่งที่มองไม่เห็นเหมือนกัน

แต่สำหรับพระพุทธศาสนา ศาสนาประจำชาติเรากับเชื่อกันแบบทิ้งๆขว้างๆ โดยไม่มีการศึกษาอย่างถูกต้อง แล้วกลับทำตามที่ตนคิดว่า "แค่นี้ก็พอแล้ว" (เมื่อก่อนผมก็เป็นเหมือนกันครับ) หรือทำไปเถอะจะผิดหรือถูกมันอยู่ที่ใจ อือ...ถ้าเราซื้อเหล้่ามา แล้วก็เอาไปให้เพื่อนที่เขาชอบเหล้า เราจะได้ทำทาน หรือผิดศีล ครับ

ตัวอย่างเช่น

1.เรื่องพระกับเงิน ก็บอกว่านี้มันสมัยไหนแล้ว สมัยนี้จำเป็นต้องใช้
อันนี้ไม่เถียงครับ แต่มันมีวิธีให้และวิธีใช้ที่ถูกต้องอยู่ ซึ่งไม่ใช้เอาเงินให้พระโดยตรงครับ ถ้าศึกษาดูพระพุทธเจ้าก็มีการอนุโลมเพื่อให้ภิกษุนั้นอยู่ง่าย (ที่ไม่ใช้สบายเกินไปนะครับ) และไม่ถึงกับลำบากจนเกินไปครับ

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจะขอบอกเธอทั้งหลาย จะขอเตือนเธอทั้งหลาย การที่บุคคลผู้ทุศีล มีธรรมลามก มีความประพฤติสกปรก น่ารังเกียจ ปกปิดกรรมชั่ว มิใช่สมณะ แต่ปฏิญาณว่าเป็นสมณะ มิใช่ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ แต่ปฏิญาณว่าประพฤติพรหมจรรย์ เน่าใน มีความกำหนัดกล้าเป็น
ดังหยากเยื่อ บริโภคบิณฑบาตที่เขาถวายด้วยศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาลหรือคฤหบดีมหาศาลจะดีอย่างไร การที่บุรุษมีกำลังเอาขอเหล็กแดงไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงเกี่ยวปากอ้าไว้ แล้วกรอกก้อนเหล็กแดง ไฟกำลังลุกโชติช่วงเข้าในปาก ก้อนเหล็กแดงนั้นจะพึงไหม้ริมฝีปาก ไหม้ปาก ไหม้ลิ้น ไหม้คอ ไหม้อก ไหม้เรื่อยไปถึงไส้ใหญ่ไส้น้อย แล้วออกทางทวารเบื้องต่ำ นี้ดีกว่าข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผู้นั้นพึงถึงความตายหรือทุกข์ปางตาย มีข้อนั้นเห็นเหตุ แต่ผู้นั้นเมื่อตายไปไม่พึงเข้าถึงอบายทุคติ วินิบาต นรก เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัย
“ส่วนการที่บุคคลผู้ทุศีล มีธรรมอันลามก..... เป็นดังหยากเยื่อ บริโภคบิณฑบาตที่เขาถวายด้วยศรัทธา ของกษัตริย์ มหาศาล... ย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน แก่บุคคลผู้ทุศีลนั้น และบุคคลผู้ทุศีลนั้น เมื่อตายไปย่อมเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก....ฯ”

อัคคิขันธูปมสูตร ส. อํ. (๖๙)
http://www.84000.org/true/251.html


2.เรื่องการปฏิบัติตนของพระ พระบ้างรูปดูภายนอกนั้นไม่น่าเลื่อมใสแต่ภายในนั้นปฏิบัติถูกต้อง เราก็ไปตัดสินท่านแต่ภายนอกเลย (เมื่อก่อนผมคนหนึ่งที่เป็นครับ) หรืออะไรที่ไม่ถูกใจเรา เราก็ตัดสินเลยครับว่าไม่ดีโดยใช้ความรู้สึกเราเป็นบรรทัดฐาน ส่วนบ้างรูปต่อหน้าเราก็สงบ นิ่ง น่าเลื่อมใส แต่ลับหลัง เราก็ไม่สามารถรู้ได้ว่าท่านปฏิบัติตนอย่างไร เพราะเราไม่ได้อยู่กับท่านตลอดเวลา
ข้อนี้จึงอยากบอกว่าถ้าจะตัดสินพระที่องค์ไหนดีหรือไม่ดี เราควรใช้มาตรฐานของพระครับ คือพระวินัย เป็นมาตรฐานที่พระพุทธเจ้าซึ่งเป็นพระศาสดาบัญญัติไว้ หรือตั้งกติกาไว้สำหรับพระครับ ว่าต้องปฏิบัติอย่างไร คือต้องดูให้ดีจริงๆนะครับ ไม่ใช้เจอแค่เช้าไปทำบุญ หรือดูแค่เป็นเจ้าอาวาส หรือเป็นเจ้าคณะต่างๆ ครับ


พุทธดำรัสตอบ “ดูก่อนมหาบพิตร ของ ๔ อย่างเหล่านี้ ไม่ควรดูหมิ่นว่าเล็กน้อย... คือ
๑. กษัตริย์ ไม่ควรดูถูกดูหมิ่นว่ายังทรงพระเยาว์
๒. งู ไม่ควรดูถูกดูหมิ่นว่าตัวเล็ก
๓. ไฟ ไม่ควรดูถูกดูหมิ่นว่าเล็กน้อย
๔. ภิกษุ ไม่ควรดูถูกดูหมิ่นว่ายังหนุ่ม”

ทหรสูตรที่ ๑ ส. สํ. (๓๒๕)
http://www.84000.org/true/108.html

ภิกษุ ไม่ควรดูถูกดูหมิ่นว่ายังหนุ่ม เพราะพระหนุ่มอาจจะปฏิบัติตนดีกว่าพระที่บวชมานานกว่าก็ได้ครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น