กล่าวนำและทำความเข้าใจ

กล่าวนำและทำความเข้าใจ

Blog นี้จัดทำขึ้นเนื่องจากการที่ตั้งใจศึกษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าและหลักการปฏิบัติตนตามหลักคำสอนอย่างถูกต้อง
เพราะในปัจจุบันคนเราเน้นการทำบุญโดยเอาความสะดวกสบายและง่ายเข้าว่า โดยบ้างครั้งอาจจะผิดหลักคำสอนจนความตั้งใจทำบุญจริงๆนั้นกลายมาเป็นบาป และบ้างครั้งอาจจะหลงผิดใช้เงินกับการทำบุญที่ผิดวิธีจนได้บาปเช่นกัน แต่เราก็สามารถทำบุญอย่างง่ายๆและถูกต้องได้เช่นกัน ดังนั้นเราจึงต้องรู้หลักการปฏิบัติที่ถูกต้องเพื่อที่จะได้บุญจริงๆ

บทความใน Blog นี้จึงขอมุ่งเน้นหยิบยกเนื้อหาอ้างอิงจากพระไตรปิฏกเป็นหลักและบทความจากผู้ที่ศึกษาพระไตรปิฏกอย่างจริงจังที่น่าจะเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน การทำ Blog นี้มีเจตนาเพื่อเป็นอีกหนึ่งทางที่สำหรับผู้คนอาจจะพบเห็นและได้ศึกษาธรรมมากขึ้น

"การศึกษาอะไรที่ยิ่งใหญ่ อาจจะมาจากเรื่องที่เราสงสัยเล็กๆเพียงเรื่องเดียว"

***ทั้งนี้เนื้อหาที่ได้ลงไปใน Blog ผู้อ่านควรใช้วิจารณญาณและศึกษาจากพระไตรปิฏกควบคู่ไปด้วยเพราะอาจมีการคลาดเคลื่อนของเนื้อหา เพื่อผู้อ่านจะได้รับความรู้ที่ตรงและถูกต้องที่สุดครับ***

วันอังคารที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2557

มนุษย์โลก

มนุษย์โลก


ตั้งแต่ศึกษาพระธรรมมาผมว่าผมเข้าใจคำว่ากฏแห่งกรรมครับ คือ กรรมใดใครก่อกรรมนั้นตามสนอง ผู้ใดที่ทำกรรมอะไรไว้ ผู้นั้นจะได้กรรมนั้นแน่นอน นั้นคือระบบของธรรมชาติเราครับ ไม่ว่าจะทำบุญหรือทำบาปก็ตาม

ต้องบอกก่อนว่าบทความนี้เขียนจากที่ผมได้อ่านพวกข่าวต่างๆที่เห็นทาง facebook เกี่ยวกับสัตว์ครับ และผมเป็นคนหนึ่งที่เลี้ยงสัตว์และรักพวกมันครับ

ซึ่งก่อนหน้านี้ผมได้เห็นข่าวที่ว่ามีการฆ่าสัตว์และทรมานสัตว์จนตายมากมายหลายข่าว จนรู้สึกสลดใจมากๆ ในฐานะผู้เลี้ยงสัตว์คนหนึ่งเช่นกัน

ในทางธรรมนั้นผมเข้าใจว่าเป็นกรรมของพวกมันที่โดนกระทำอย่างนั้น เพราะถ้าพวกมันไม่เคยทำกรรมแบบนี้มาก่อนก็คงไม่โดนเขามากระทำคืนอย่างแน่นอน

ผมเคยฟังธรรมของพระองค์หนึ่งได้อธิบายคำว่า "มนุษย์โลก" เอาไว้ว่า โลกของผู้ที่มีจิตใจสูง ซึ่งจะสังเกตุได้จากการที่พระพุทธเจ้านั้นต้องตรัสรู้จากผู้ที่เป็นมนุษย์เท่านั้น

จากคำกล่าวของท่านนั้นทำให้ผมคิดว่าเมื่อเราเป็นมนุษย์ เป็นผู้ที่ถูกเรียกว่าผู้ที่มีจิตใจสูง เราน่าจะมีภาวะของความคิดในการเมตตาต่อสัตว์โลกทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นสัตว์เล็กหรือสัตว์ใหญ่ มีความยั้งคิดที่มากกว่านี้หรือไม่ ???

แต่ในความจริงแล้วเมื่อมาเทียบกับธรรมชาติแล้วแรงบีบครั้นเรื่องกรรมนั้นหนักมากครับ และจะวนเวียนตามสนองผู้ที่กระทำและถูกกระทำไปเรื่อยๆ ถ้าผู้นั้นไม่รู้จักคำว่า "อโหสิกรรม" ครับ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 122

อธิบายทิฏฐิธรรมเวทนียกรรม

บรรดากรรม   ๑๑  อย่างนั้น    ในบรรดา  (ชวนะ)   จิต  ๗  ชวนะ
ชวนเจตนาดวงแรก ที่เป็นกุศลหรืออกุศล ในชวนวิถีแรก  ชื่อว่า ทิฏฐธรรม
เวทนียกรรม.
ทิฏฐธรรมเวทนียกรรมนั้น   ให้วิบากในอัตภาพนี้เท่านั้น    ที่เป็นกุศล
อำนวยวิบากในอัตภาพนี้  เหมือนกรรมของกากวฬิยเศรษฐีและปุณณกเศรษฐี
เป็นต้น    ส่วน   ที่เป็นอกุศล    (อำนวยผลในอัตภาพนี้)    เหมือนกรรมของ
นันทยักษ์   นันทมาณพ   นันทโคฆาต   ภิกษุโกกาลิกะ   พระเจ้าสุปปพุทธะ
พระเทวทัต     และนางจิญจมาณวิกา     เป็นต้น.     แต่เมื่อไม่สามารถให้ผล
อย่างนั้น   จะเป็นอโหสิกรรมไป   คือ  ถึงความเป็นกรรมที่ไม่มีผล  กรรมนั้น
พึงสาธกด้วยข้อเปรียบกับพรานเนื้อ.

อุปมาด้วยนายพรานเสือ

เปรียบเหมือนลูกศรที่นายพรานเนื้อ   เห็นเนื้อแล้วโก่งธนูยิงไป   ถ้า
ไม่พลาด    ก็จะทำให้เนื้อนั้นล้มลงในที่นั้นเอง  ลำดับนั้น  นายพรานเนื้อก็จะ
ถลกหนังเนื้อนั้นออก  เฉือนให้เป็นชิ้นน้อยชิ้นใหญ่  ถือเอาเนื้อไปเลี้ยงลูกเมีย
แต่ถ้าพลาด  เนื้อจะหนีไป   ไม่หันกลับมาดูทิศนั้นอีก   ฉันใด  ข้ออุปไมยนี้
ก็พึงทราบฉันนั้น.    อธิบายว่า    การกลับได้วาระแห่งวิบากของทิฏฐิธรรม
เวทนียกรรม    เหมือนกับลูกศรที่ยิงถูกเนื้อโดยไม่พลาด    การกลับกลายเป็น
กรรมที่ไม่มีผล  เหมือนลูกศรที่ยิงพลาดฉะนั้น  ฉะนี้แล.

อธิบายอุปปัชชเวทนียกรรม

ส่วนชวนเจตนาดวงที่ ๗  ที่ยังประโยชน์ให้สำเร็จ   ชื่อว่า  อุปปัชช
เวทนียกรรม.  อุปปัชชเวทนียกรรมนั้น     อำนวยผลในอัตภาพต่อไป  แต่

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 123

ในบรรดากุศลอกุศลทั้งสองฝ่ายนี้  อุปปัชชเวทนียกรรมในฝ่ายที่เป็นกุศล  พึง
ทราบด้วยสามารถแห่งสมาบัติ  ๘  ในฝ่ายที่เป็นอกุศล    พึงทราบด้วยสามารถ
แห่งอนันตริยกรรม ๕.  บรรดากรรมทั้งสองฝ่ายนั้น  ผู้ที่ได้สมาบัติ  ๘  จะเกิด
ในพรหมโลก ด้วยสมาบัติอย่างหนึ่ง. ฝ่ายผู้กระทำอนันตริยกรรม ๕ จะบังเกิด
ในนรกด้วยกรรมอย่างหนึ่ง.  สมาบัติที่เหลือ และกรรม (ที่เหลือ) จะถึงความ
เป็นอโหสิกรรมไปหนด  คือเป็นกรรมที่ไม่มีวิบาก.   แม้ความข้อนี้    พึงทราบ
ตามข้อเปรียบเทียบข้อแรกเทอญ.

อธิบายอปรปริยายเวทนียกรรม

ก็ชวนเจตนา ๕ ดวง  ที่เกิดขึ้นในระหว่าง แห่งชวนะ ๒ ดวง (ชวน
เจตนาดวงที่ ๑  และชวนเจตนาดวงที่ ๗)  ชื่อว่า อปรปริยายเวทนียกรรม.
อปรปริยายเวทนียกรรมนั้น   ได้โอกาสเมื่อใดในอนาคตกาล  เมื่อนั้น จะให้ผล
เมื่อความเป็นไปแห่งสังสารวัฏฏะยังมีอยู่    กรรมนั้นจะชื่อว่า  เป็นอโหสิกรรม
ย่อมไม่มี. กรรมทั้งหมดนั้นควรแสดงด้วย (เรื่อง) พรานสุนัข.  เปรียบเหมือน
สุนัขที่นายพรานเนื้อปล่อยไป เพราะเห็นเนื้อ จึงวิ่งตามเนื้อไป ทันเข้าในที่ใด
ก็จะกัดเอาในที่นั้นแหละ ฉันใด กรรมนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน   ได้โอกาสในที่ใด
ก็จะอำนวยผลในที่นั้นทันที.  ขึ้นชื่อว่าสัตว์  จะรอดพ้นไปจากกรรมนั้น   เป็น
ไม่มี.
.
.
.
.
**************************************

วันพุธที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2557

สัตว์ผู้มีบารมีบำเพ็ญไว้แล้วก็ยังหลงได้

สัตว์ผู้มีบารมีบำเพ็ญไว้แล้วก็ยังหลงได้



ในเรื่องบุรพกรรมของพระมหาโมคคัลลานะนั้นพอได้อ่านแล้วผมได้สะดุดกับคำของพระศาสดาที่ว่า

"สัตว์ผู้มีบารมีบำเพ็ญไว้แล้วแม้เห็นปานนั้น   ก็แตกกับมารดาบิดาได้"

ขนาดท่านผู้บำเพ็ญบารมีเพื่อที่จะเป็นสาวกก็ยังมีการหลงได้ แล้วเรานั้นได้ศึกษามากน้อยขนาดไหนที่จะได้ไม่หลงไปบ้างเลย  แต่ถ้าเมื่อรู้ว่าหลงแล้วจะสามารถกลับคืนหรือแก้ไขได้หรือไม่นั้นเป็นสิ่งที่สำคัญครับ


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 99

พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า  " ภิกษุทั้งหลาย   บัดนี้    พวกเธอ
นั่งประชุมกันด้วยกถาอะไรหนอ ? " เมื่อภิกษุเหล่านั้น  กราบทูลว่า " ด้วย
กถาชื่อนี้   พระเจ้าข้า "  ดังนี้แล้วตรัสว่า   " ภิกษุทั้งหลาย  โมคคัลลานะ
มรณภาพไม่สมควรแก่อัตภาพนี้เท่านั้น,        แต่เธอถึงมรณภาพสมควรแท้
แก่กรรมที่เธอทำไว้ในกาลก่อน "    อันภิกษุทั้งหลายทูลถามว่า  " ก็บุรพ-
กรรมของท่านเป็นอย่างไร ?  พระเจ้าข้า "   ได้ตรัส  (อดีตนิทาน) อย่าง
พิสดาร (ดังต่อไปนี้) :-

บุรพกรรมของพระมหาโมคคัลลานะ

ดังได้สดับมา  ในอดีตกาล  กุลบุตรผู้หนึ่ง  เป็นชาวเมืองพาราณสี
ทำกิจต่าง ๆ มีตำข้าวและหุงต้มเป็นต้นเองทั้งนั้น      ปรนนิบัติมารดาบิดา.
ต่อมา  มารดาบิดาของเขา  พูดกะเขาว่า  " พ่อ เจ้าผู้เดียวเท่านั้น
ทำงานทั้งในเรือน  ทั้งในป่า  ย่อมลำบาก,    มารดาบิดาจักนำหญิงสาวคน
หนึ่งมาให้เจ้า,"    ถูกเขาห้ามว่า   ' คุณแม่และคุณพ่อ  ผมไม่ต้องการด้วย
หญิงสาวเห็นปานนั้น,    ผมจักบำรุงท่านทั้งสองด้วยมือของผมเอง   ตราบ
เท่าท่านทั้งสองยังมีชีวิตอยู่ "   ก็อ้อนวอนเขาแล้ว ๆ เล่า ๆ แล้วนำหญิง-
สาวมา (ให้เขา).

หญิงชั่วยุยงผัวฆ่ามารดาบิดา

หญิงนั้นบำรุงแม่ผัวและพ่อผัวได้เพียง ๒-๓ วันเท่านั้น    ภายหลัง
ก็ไม่อยากเห็นท่านทั้งสองนั้นเลย  จึงบอกสามีว่า  " ฉันไม่อาจอยู่ในที่แห่ง
เดียวกับมารดาบิดาของเธอได้ "  ดังนี้แล้ว   ติเตียน (ต่าง ๆ นานา) เมื่อ
สามีนั้นไม่เชื่อถ้อยคำของตน,   ในเวลาสามีไปภายนอก  ถือเอาปอ ก้านปอ
และฟองข้าวยาคู  ไปเรี่ยรายไว้ในที่นั้น ๆ (ให้รกรุงรังเลอะเทอะ)  สามีมา
แล้ว   ก็ถามว่า " นี้  อะไรกัน "   ก็บอกว่า " นี่  เป็นกรรมของคนแก่ผู้
บอดเหล่านี้,   แกทั้งสองเที่ยวทำเรือนทั่วทุกแห่งให้สกปรก. ฉันไม่อาจ
อยู่ในที่แห่งเดียวกันกับแกทั้งสองนั่นได้.

เชื่อเมียต้องเสียพ่อแม่

เมื่อหญิงนั้น    บ่นพร่ำอยู่อย่างนั้น.     สัตว์ผู้มีบารมีบำเพ็ญไว้แล้ว
แม้เห็นปานนั้น   ก็แตกกับมารดาบิดาได้.  เขาพูดว่า " เอาเถอะ, ฉันจักรู้
กรรมที่ควรทำแก่ท่านทั้งสอง "  ดังนี้แล้ว   เชิญมารดาบิดาให้บริโภคแล้ว
ก็ชักชวนว่า " ข้าแต่พ่อและแม่   พวกญาติในที่ชื่อโน้น    หวังการมาของ
ท่านทั้งสองอยู่.  ผมจัก  (พา) ไปในที่นั้น  "  ดังนี้แล้ว  ให้ท่านทั้งสองขึ้น
สู่ยานน้อยแล้วพาไป  ในเวลาถึงกลางดงลวงว่า    " คุณพ่อขอรับ  ขอพ่อ
จงถือเชือกไว้.  โคทั้งสองจักไปด้วยสัญญาแห่งปฏัก,  ในที่นี้มีพวกโจรซุ่ม
อยู่,  ผมจะลงไป "   ดังนี้แล้ว    มอบเชือกไว้ในมือของบิดา   ลงไปแล้ว
ได้เปลี่ยนเสียงทำให้เป็นเสียงพวกโจรซุ่มอยู่.

มารดาบิดาสิเนหาในบุตรยิ่งกว่าตน

มารดาบิดาได้ยินเสียงนั้น ด้วยสำคัญว่า " พวกโจรซุ่มอยู่ " จึงกล่าว
ว่า  " ลูกเอ๋ย   แม่และพ่อแก่แล้ว,   เจ้าจงรักษาเฉพาะตัวเจ้า  (ให้พ้นภัย)
เถิด."  เขาทำเสียงดุจโจร  ทุบตีมารดาบิดา  แม้ผู้ร้องอยู่อย่างนั้นให้ตาย
แล้ว   ทิ้งไว้ในดง  แล้วกลับไป.

ผลของกรรมชั่วตามสนอง

พระศาสดา ครั้นตรัสบุรพกรรมนี้ของพระมหาโมคคัลลานะนั้นแล้ว
ตรัสว่า  " ภิกษุทั้งหลาย  โมคคัลลานะ  ทำกรรมประมาณเท่านี้ไหม้ใน
นรกหลายแสนปี, ด้วยวิบากที่ยังเหลือ จึงถูกทุบตีอย่างนั้นนั่นแล  ละเอียด
หมด ถึงมรณะ สิ้น ๑๐๐ อัตภาพ,   โมคคัลลานะ ได้มรณะอย่างนี้ ก็พอ
สมแก่กรรมของตนเองแท้.    พวกเดียรถีย์ ๕๐๐ กับโจร ๕๐๐  ประทุษ-
ร้ายต่อบุตรของเราผู้ไม่ประทุษร้าย  ก็ได้มรณะที่เหมาะ (แก่กรรมของเขา)
เหมือนกัน,    ด้วยว่า  บุคคลผู้ประทุษร้ายต่อบุคคลผู้ไม่ประทุษร้าย  ย่อม
ถึงความพินาศฉิบหายด้วยเหตุ  ๑๐  ประการเป็นแท้  "  ดังนี้แล้ว   เมื่อจะ
ทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม  จึงได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า

๗.  โย  ทณฺเฑน  อทณฺเฑนสุ         อปฺปทุฏฺเสุ  ทุสฺสติ
ทสนฺนมญฺตร  าน             ขิปฺปเมว  นิคจฺฉติ
เวทน  ผรุส  ชานึ                   สรีรสฺส  จ  เภทน
ครุก  วาปิ   อาพาธ               จิตฺตกฺเขป  ว ปาปุเณ
ราชฺโต  วา  อุปสคฺค               อพฺภกฺขาน  ว  ทารุณ
ปริกฺขย  ว   ญาตีน                 โภคาน ว ปภงฺคุณ
อถ  วาสฺส อคารานิ                อคฺคิ  ฑหติ  ปาวโก
กายสฺส  เภทา  ทุปฺปญฺโ        นิรย  โส  อุปปชฺชติ.

" ผู้ใด    ประทุษร้ายในท่านผู้ไม่ประทุษร้ายทั้ง
หลาย ผู้ไม่มีอาชญา  ด้วยอาชญา  ย่อมถึงฐานะ  ๑๐
อย่าง   อย่างใดอย่างหนึ่งพลันทีเดียว  คือ   ถึงเวทนา
กล้า ๑  ความเสื่อมทรัพย์ ๑   ความสลายแห่งสรีระ ๑
อาพาธหนัก  ๑ ความฟุ้งซ่านแห่งจิต  ๑  ความขัดข้อง
แต่พระราชา ๑  การถูกกล่าวตู่อย่างร้ายแรง ๑  ความ
ย่อยยับแห่งเครือญาติ  ๑   ความเสียหายแห่งโภคะ
ทั้งหลาย ๑  อีกอย่างหนึ่ง   ไฟป่าย่อมไหม้เรือนของ
เขา,   ผู้นั้นมีปัญญาทราม  เพราะกายแตก    ย่อมเข้า
ถึงนรก."

*********************************************

วันพุธที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

นิพพานเพื่ออะไร ???

นิพพานเพื่ออะไร ???



เมื่อประมาณอาทิตย์ก่อนหน้านี้ผมได้อ่าน ลักษณะของมหาบุรุษ (มหาปุริสลักษณะ) และก็คิดว่าจะเขียนเรื่องยังไงดีนะ แต่พอมาวันนี้ผมได้อ่านข่าวหนึ่งของ www.sanook.com เลยได้จังหวะที่จะนำมาให้ศึกษากันครับ

http://news.sanook.com/1640105/%E0%B8%81%E0%B8%AD.%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%99.%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2/

สรุปข่าวนะครับ ประมาณว่ามีผู้อวดอ้างว่าตัวเองเป็นพระพุทธเจ้ากลับชาติมาเกิด ที่ประเทศกัมพูชา และที่สำคัญครับในข่าวระบุว่ามีคนไทยและคนกัมพูชาหลงเชื่อมากมายครับ ทั้งๆที่เรียกตัวเองว่าเป็นชาวพุทธครับ

ให้คิดง่ายๆนะครับการนิพพานคือการที่ไม่กลับมา เกิด อีก ซึ่งชาวพุทธน่าจะเข้าใจกันดี แต่ว่าทำไม่มีผู้มาอวดอ้างว่าตัวเองเป็นพระพุทธเจ้ากลับชาติมาเกิด กลับหลงเชื่อกันมากมาย

ถ้าเป็นคุณพยายามปฏิบัติเพื่อการดับหรือการหลุดพ้น แต่คุณต้องกลับมา เวียนว่ายตายเกิดอีก คุณจะเอาไหมครับ ต้องมาทนทุกข์ทรมานอีก การที่เราศึกษาพระธรรมจริงๆนั้นก็จะช่วยให้เราไม่โดนหลอกง่ายๆ ในเรื่องพวกนี้ด้วยนะครับ

และอีก 1 สิ่งที่น่าจะเป็นข้อสังเกตุที่ดี คือ พระพุทธเจ้าเรานั้นมีลักษณะ มหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ ซึ่งท่านได้สั่งสมบุญบารมีมานานมากๆๆๆๆๆๆๆๆ จนถึงชาติที่ท่านจะได้ตรัสรู้ ซึ่งดูจากรูปของบุคคลที่อวดอ้างในรูปแล้วนั้นไม่น่าจะใกล้เคียงครับ

คือถ้าพูดง่ายๆอย่างน้อยผู้ที่มีลักษณะ มหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ ต้องรูปร่างหน้าตาดีมากๆ ครับ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 234

[๕๘๘]  ครั้งนั้นแล    อุตตรมาณพได้มีความคิดว่า   พระสมณโคดม
ทรงประกอบด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ    อย่ากระนั้นเลย    เราพึงติด
ตามพระสมณโคดม    พึงดูพระอิริยาบถของพระองค์เถิด    ครั้งนั้นแล   อุตตร
มาณพได้ติดตามพระผู้มีพระภาคเจ้าไปตลอด  ๗  เดือน      ดุจพระฉายาติดตาม
พระองค์ไปฉะนั้น.    ครั้งนั้นอุตตรมาณพได้เที่ยวจาริกไปทางเมืองมิถิลา    ใน
วิเทหชนบทโดยล่วงไป ๗ เดือน    เมื่อเที่ยวจาริกไปโดยลำดับ     ได้เข้าไปหา
พรหมณ์ที่เมืองมิถิลาไหว้พรหมายุพราหมณ์แล้ว   จึงนั่ง  ณ  ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้ว    พรหมายุพราหมณ์ได้ถามว่า   พ่ออุตตรมาณพ   กิตติศัพท์ของท่าน
พระโคดมพระองค์นั้น    ขจรไปแล้วเป็นจริงอย่างนั้นไม่เป็นอย่างอื่นหรือ    ก็
ท่านพระโคดมพระองค์นั้นเป็นเช่นนั้นไม่เป็นเช่นอื่นแลหรือ.

มหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ

[๕๘๙]  อุตตรมาณพตอบว่า   ข้าแต่ท่านผู้เจริญ   กิตติศัพท์ของท่าน
พระโคดมพระองค์นั้น    ขจรไปแล้วเป็นจริงอย่างนั้น   ไม่เป็นอย่างอื่น  และท่าน
พระโคดมพระองค์นั้นเป็นเช่นนั้นจริง      ไม่เป็นอย่างอื่น     ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
ท่านพระโคดมพระองค์นั้น  ทรงประกอบด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการคือ
๑.    ท่านพระโคดมพระองค์นั้นมีพระบาทประดิษฐานอยู่
ด้วยดี   แม้ข้อนี้ก็เป็นมหาปุริสลักษณะแห่งมหาบุรุษ   ของท่านพระ-
โคดมพระองค์นั้น
๒.    มีลายจักรอันมีกำพันหนึ่ง  มีกงพันหนึ่ง   มีดุมพันหนึ่ง
บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง   เกิดภายใต้ฝ่าพระบาททั้งสอง
๓.    ทรงมีพระส้นยาว
๔.    ทรงมีพระองคุลียาว
๕.    ทรงมีฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทอ่อนนุ่ม
๖.     ทรงมีฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทเป็นลายตาข่าย
๗.    ทรงมีพระบาทสูงนูน
๘.    พระมีพระชงฆ์เรียวดังแข้งเนื้อทราย
๙.    ทรงประทับยืนตรง ไม่ค้อมลง  ฝ่าพระหัตถ์ทั้งสองลูบ
คลำพระชานุมณฑลทั้งสองได้
๑๐.   ทรงมีพระคุยหฐานเร้นอยู่ในฝัก
๑๑.   ทรงมีพระฉวีรรณดังทองคำ
๑๒.  ทรงมีพระฉวีละเอียดดังผิวทองคำเพราะทรงมีพระฉวี
ละเอียดฝุ่นละอองไม่ติดพระกาย
๑๓.   ทรงมีพระโลมาขุมละเส้น
๑๔.  ทรงมีพระโลมาปลายงอนขึ้นเบื้องบนทุกเส้น  สีเขียว
ดังดอกอัญชัน  ขอเป็นมณฑลทักษิณาวัฏ
๑๕.   ทรงมีพระกายตรงดังกายพรหม
๑๖.   ทรงมีพระกายเต็มในที่  ๗ แห่ง
๑๗.  มีพระกายเต็มดังกึ่งกายเบื้องหน้าแห่งสีหะ
๑๘.  ทรงมีพระปฤษฎางค์เต็ม
๑๙.    ทรงมีปริมณฑลดังต้นนิโครธ   มีพระกายกับวาเท่ากัน
๒๐.  ทรงมีพระศอกลมเสมอ
๒๑.   ทรงมีเส้นประสาทสำหรับรับรสหมดจดดี
๒๒.  ทรงมีพระหนุดังคางราชสีห์
๒๓.  ทรงมีพระทนต์  ๔๐  ซี่
๒๔.  ทรงมีพระทนต์เสมอ
๒๕.  ทรงมีพระทนต์ไม่ห่าง
๒๖.  ทรงมีพระทาฐาอันขาวงาม
๒๗.  ทรงมีพระชิวหาใหญ่ยาว
๒๘.  ทรงมีพระสุรเสียงดังเสียพรหม
๒๙.  ทรงมีพระเนตรดำสนิท
๓๐.   ทรงมีดวงพระเนตรดังตาโค
๓๑.   ทรงมีพระอุณาโลมขาวละเอียดอ่อนดังสำลี       เกิด
ระหว่างพระโขนง
๓๒.  มีพระเศียรกลมเป็นปริมณฑลดังประดับด้วยกรอบ
พระพักตร์.
.
.
.

********************************************

ขอขอบคุณข่าวจาก www.sanook.com ไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ  ^___________^

วันพุธที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

เราควรโทษใคร ???

เราควรโทษใคร ???



ก่อนหน้านี้มีเรื่องแม่ชีท่านหนึ่งที่โดนวิพากษ์วิจารณ์เรื่องการใช้ของที่ดูแล้วหรูหราเกินสถานะเกินไปตามที่เป็นข่าวครับ

ผมมี 1 ข้อคิดให้ลองคิดเปรียบเทียบง่ายๆนะครับ

เราทราบดีว่าก่อนพระพุทธเจ้าเราจะตัดสินใจออกผนวชนั้นท่านเป็นทายาทกษัตริย์ และได้ถูกทำนายตั้งแต่ประสูติว่า ถ้าออกผนวชจะได้เป็นพระศาสดา และถ้าครองเรือนจะเป็นมหาราชผู้ยิ่งใหญ่ สุดท้ายตามประวัติท่านก็สละทุกอย่างเพื่อออกผนวช ไม่ว่าจะเป็นราชสมบัติ หรือแม้กระทั้งพระมเหสีและพระราชบุตร

พอท่านได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ผมขอใช้คำง่ายๆนะครับว่าท่านก็มีลูกศิษย์มากมาย มีทั้งพ่อค้า มีทั้งเศรษฐี จนถึงระดับกษัตริย์ของเมืองต่างๆ

เราลองคิดดูง่ายๆนะครับว่าถ้าท่านบวชเพื่อหาเงิน หาทอง หาสมบัติ ท่านจะได้มากมายขนาดไหนครับ
ขนาดแค่พระผู้ใหญ่ในบ้านเรายังมีเงินเก็บเป็นหลายๆล้านก็ยังมี

อีก 1 มุมมองครับ

แล้วพวกเราละครับจะขนสมบัติไปให้พระกันมากมายขนาดไหน  ทั้งๆที่ท่านเหล่านั้นบวชมาในศาสนานี้เพื่อสละสิ่งเหล่านี้เพื่อการหลุดพ้นและพระศาสดาห้ามไม่ให้รับด้วยตามพระวินัย

สิ่งเหล่านี้เราอาจจะคิดว่าดี คิดว่าถูกในความเห็นของหลายๆคน  และมันเลยกลายเป็นเรื่องธรรมดาและเคยชินในการรับสิ่งของมีค่า เช่น เงิน ทอง ที่ดิน ของพระไปโดยธรรมดาเช่นกัน

พอเราทำกันมาเป็นเวลานานๆ โดยไม่ได้รู้ข้อมูลที่แท้จริงก็มีการผิดเพี้ยนไป  อย่างเช่น  มีเกมส์หนึ่งที่ผมเคยเล่นตอนเด็กในชั่วโมงเรียน  ที่ให้คนมาต่อแถวกันและส่งข้อความผ่านกันโดยการกระซิบบอกต่อคนข้างๆไปเรื่อยๆ  และห้ามให้คนอื่นได้ยินจนถึงคนสุดท้าย  และสุดท้ายแล้วข้อมูลจากปากต่อปากก็ผิดเพี้ยนไปมากมาย

ในกรณีของเรา

จาก ทวด มาสู่ ปู่-ย่า-ตา-ยาย
จาก ปู่-ย่า-ตา-ยาย มาสู่ พ่อ-แม่
จาก พ่อ-แม่  มาสู่  พวกเรา

ทวด ------> ปู่-ย่า-ตา-ยาย ------> พ่อ-แม่ ------> พวกเรา

ลองคิดดูนะครับว่าผ่านมา 2557 ปีแล้ว จะยิ่งผิดเพี้ยนไปมากขนาดไหน และมันควรถึงเวลาที่เราควรจะย้อนกลับไปศึกษาข้อมูลที่แท้จริงจากพระไตรปิฏกกันหรือยัง ดีกว่าที่จะทำตามๆกัน โดยไม่ได้รับรู้ข้อมูลที่แท้จริงบ้างเลย

และถ้าวันนี้หรือวันต่อๆไปจะมีข่าวการประพฤติตนไม่เหมาะสมของพระออกมาเรื่อยๆ  ก็อย่าไปโทษแต่พระเลยครับ  เราลองมองดูตัวเราก่อนครับว่าเราปฏิบัติตนต่อพระถูกต้องตามที่พระพุทธเจ้าสั่งและสอนไว้ในฐานะที่เราเป็นชาวพุทธแล้วหรือยัง ???

ฝากให้คิดกันนะครับ


พระไม่สามารถรับเงิน ทอง สิ่งของที่มีค่า หรือแม้กระทั้งซื้อของเองได้

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๙  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
จุลศีล
 [๑๐๓] ดูกรมหาบพิตร อย่างไร ภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล.
             
             ๑๓. เธอเว้นขาดจากการรับทองและเงิน.
             ๑๔. เธอเว้นขาดจากการรับธัญญาหารดิบ.
             ๑๕. เธอเว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ.
             ๑๖. เธอเว้นขาดจากการรับสตรีและกุมารี.
             ๑๗. เธอเว้นขาดจากการรับทาสีและทาส.
             ๑๘. เธอเว้นขาดจากการรับแพะและแกะ.
             ๑๙. เธอเว้นขาดจากการรับไก่และสุกร.
             ๒๐. เธอเว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า และลา.
             ๒๑. เธอเว้นขาดจากการรับไร่นาและที่ดิน.
             .
             .
     .

********************************************

พระไม่สามารถให้คนอื่นรับเงิน ทอง แทนตนหรือเก็บไว้ให้ตนได้

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒  พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒

พระบัญญัติ
             ๓๗. ๘. อนึ่ง ภิกษุใด รับก็ดี ให้รับก็ดี ซึ่งทอง เงิน หรือยินดีทอง เงินอันเขาเก็บไว้ให้, เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.

********************************************

วันอังคารที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

คิดแบบเหตุผล

คิดแบบเหตุผล



ปฏิเสธไม่ได้จริงๆครับว่าเมืองพุทธอย่างประเทศเรานั้นมีผู้ยึดติดกับสิ่งต่างๆที่เรียกว่า เครื่องรางของขลัง หรือการสักยันต์ ลงของต่างๆ มากมาย  ซึ่งของเหล่านี้อยู่นอกศาสนาพุทธเราครับ  แต่จากที่ได้ศึกษาประวัติศาสตร์เรามาก็ไม่แปลกที่จะมีสิ่งเหล่านี้เข้ามาปนในศาสนาเราครับ

โดยทั่วไปแล้วคนเหล่านั้นมีความเชื่อว่าจะช่วยให้ตนเองไม่เจ็บ ไม่ป่วย หนังเหนียว อยู่ยงคงกระพัน ฟังแทงไม่เข้า หรือเพื่อศิริมงคลครับ

แต่ถ้าเราได้ศึกษาพระธรรมจะทราบว่า

พระพุทธเจ้า ที่เป็นเอกของโลกก็ยังมีการอาพาธ หรือมีการบาดเจ็บพระโลหิตห้อ
พระสารีบุตร ผู้ที่เป็นถึงอัครสาวกเบื้องขวาก็ยังอาพาธจนมรณภาพ
พระโมคคัลลานะ ผู้ที่เป็นอัครสาวกเบื้องซ้ายที่เป็นผู้มีฤทธิ์มากก็ถูกคนทุบจนมรณภาพไป

ทุกวันนี้คนอ้างการใช้เหตุผลในการเชื่อและตัดสินใจ อยากให้ลองใช้เหตุผลกับเรื่องนี้ดูนะครับว่าคิดเห็นกันเช่นไรบ้างครับ


พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 293
พระเทวทัตทำโลหิตุปบาท

[๓๗๒]  สมัยนั้น     พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจงกรมอยู่  ณ  เขาคิชฌ-
กูฏบรรพต   ครั้งนั้น   พระเทวทัตขึ้นสู่คิชฌกูฏบรรพต   แล้วกลิ้งศิลากอันใหญ่
ด้วยหมายใจว่า  จักปลงพระชนม์พระสมณโคดมด้วยศิลานี้   ยอดบรรพตทั้งสอง
น้อมมารับศิลานั้นไว้   สะเก็ดกระเด็นจากศิลานั้นต้องพระบาทของพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า  ทำพระโลหิตให้ห้อขึ้นแล้วขณะนั้น  พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแหงนขึ้น
ไปได้ตรัสกะพระเทวทัตว่า   ดูก่อนโมฆบุรุษ   เธอสั่งสมบาปมิใช่บุญไว้มากนัก
เพราะมีจิตคิดประทุษร้าย   มีจิตคิดฆ่ายังโลหิตของตถาคตให้ห้อขึ้น   ลำดับนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย    นี้จัดเป็น
อนันตริยกรรมข้อที่  ๑  ที่เทวทัตสั่งสมแล้ว    เพราะเธอ    มีจิตคิดประทุษร้าย
มีจิตคิดฆ่า   ทำโลหิตของตถาคตให้ห้อขึ้น
.
.
.

********************************************

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 423
๓.  จุนทสูตร
ว่าด้วยการปรินิพพานของพระสารีบุตร

[๗๓๓]  สมัยหนึ่ง    พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่   ณ  พระวิหาร
เชตวัน  อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี  ใกล้กรุงสาวัตถี. ก็ในสมัยนั้น  ท่าน
พระสารีบุตรอยู่   ณ  บ้านนาลกคาม   ในแคว้นมคธ   อาพาธ   เป็นไข้หนัก
ได้รับทุกขเวทนา.  สามเณรจุนทะเป็นอุปัฏฐากของท่าน.   ครั้งนั้น  ท่านพระ-
สารีบุตรปรินิพพานด้วยอาพาธนั่นแหละ.
.
.
.

********************************************

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 96
พระเถระถูกพวกโจรทุบ

พระเถระ(พระมหาโมคคัลลานเถระ)   ทราบความที่ตนถูกพวกโจรเหล่านั้นล้อมแล้ว    จึงออก
ไปทางช่องลูกกุญแจหลีกไปเสีย.   ในวันนั้น   พวกโจรนั้น  มิได้เห็นพระ-
เถระ.  วันรุ่งขึ้น  จึงไปล้อม (อีก).
พระเถระทราบแล้ว    ก็ทำลายมณฑลช่อฟ้าเหาะไปสู่อากาศ.    เมื่อ
เป็นเช่นนี้   ในเดือนแรกก็ดี  ในเดือนท่ามกลางก็ดี  พวกเดียรถีย์นั้น   ก็
มิได้อาจจับพระเถระได้.   แต่เมื่อมาถึงเดือนสุดท้าย.  พระเถระทราบภาวะ
คือการชักมาแห่งกรรมอันตนทำไว้เเล้ว   จึงมิได้หลบเลี่ยง.
พวกโจรไปจับพระเถระได้แล้ว        ทุบกระดูกทั้งหลายของท่านให้
(แตกยับเป็นชิ้นน้อย)   มีประมาณเท่าเมล็ดข้าวสารหัก.   ทีนั้น  พวกโจร
เหวี่ยงท่านไปที่หลังพุ่มไม้เเห่งหนึ่ง  ด้วยสำคัญว่า ' ตายแล้ว.'  ก็หลีกไป.
.
.
.

********************************************

ไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลง

ไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลง



สวัสดีครับหลังจากไม่ได้เข้ามา Update Blog นาน พอเข้ามาก็ตกใจว่ามีผู้ติดตามด้วยหรอเนี่ย ดีใจมากครับ

ในช่วงที่ผ่านมานั้นชีวิตผมมีการเปลี่ยนแปลงไปมากมายครับ จนทำให้นึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ว่า ทุกสิ่งไม่เที่ยง ทุกสิ่งล้วนเปลี่ยนแปลง และการพลัดพรากจากของรักเป็นเรื่องธรรมดา ครับ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 423
๓.  จุนทสูตร
ว่าด้วยการปรินิพพานของพระสารีบุตร

[๗๓๓]  สมัยหนึ่ง    พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่   ณ  พระวิหาร
เชตวัน  อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี  ใกล้กรุงสาวัตถี. ก็ในสมัยนั้น  ท่าน
พระสารีบุตรอยู่   ณ  บ้านนาลกคาม   ในแคว้นมคธ   อาพาธ   เป็นไข้หนัก
ได้รับทุกขเวทนา.  สามเณรจุนทะเป็นอุปัฏฐากของท่าน.   ครั้งนั้น  ท่านพระ-
สารีบุตรปรินิพพานด้วยอาพาธนั่นแหละ.

[๗๓๔]  ครั้งนั้น      สามเณรจุนทะถือเอาบาตรและจีวรของท่านพระ-
สารีบุตร  เข้าไปหาพระอานนท์ยังพระวิหารเชตวัน  อารามของท่านอนาถบิณ-
ฑิกเศรษฐี  ใกล้กรุงสาวัตถี  นมัสการท่านพระอานนท์แล้ว   จึงนั่ง  ณ ที่ควร
ส่วนข้างหนึ่ง      ครั้นแล้วได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า     ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
ท่านพระสารีบุตรปรินิพพานแล้ว  นี้บาตรและจีวรของท่าน.  ท่านพระอานนท์
กล่าวว่า  ดูก่อนอาวุโสจุนทะ   นี้เป็นมูลเรื่องที่จะเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า    มีอยู่
มาไปกันเถิด   เราจักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า    แล้วกราบทูลเนื้อความนั้น
แด่พระองค์.  สามเณรจุนทะรับคำของท่านพระอานนท์แล้ว.

[๗๓๕]  ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์กับสามเณรจุนทะ  เข้าไปเฝ้าพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ   ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง   ณ  ที่ควร
ส่วนข้างหนึ่ง  ครั้นแล้ว  ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลว่า  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
สามเณรจุนทะรูปนี้  ได้บอกอย่างนี้ว่า   ท่านพระสารีบุตรปรินิพพานแล้ว    นี้
บาตรและจีวรของท่าน   ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ   กายของข้าพระองค์ประหนึ่งจะ
งอมงมไป  แม้ทิศทั้งหลายก็ไม่ปรากฏแก่ข้าพระองค์   แม้ธรรมก็ไม่แจ่มแจ้งแก่
ข้าพระองค์   เพราะได้ฟังว่า  ท่านพระสารีบุตรปรินิพพานแล้ว.

[๗๓๖]  พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า  ดูก่อนอานนท์  สารีบุตรพา
เอาศีลขันธ์  สมาธิขันธ์   ปัญญาขันธ์  วิมุตติขันธ์  หรือวิมุตติญาณทัสสนขันธ์
ปรินิพพานไปด้วยหรือ.
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า   หามิได้  พระเจ้าข้า   ท่านพระสารีบุตร
มิได้พาศีลขันธ์ปรินิพพานไปด้วย ฯลฯ  มิได้พาวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ปริ-
นิพพานไปด้วย.  ก็แต่ว่าท่านพระสารีบุตรเป็นผู้กล่าวสอนให้รู้ชัดแสดงให้เห็น
แจ้ง   ให้สมาทาน   ให้อาจหาญ   ให้รื่นเริง   ไม่เกียจคร้านในการแสดงธรรม
อนุเคราะห์เพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย   ข้าพระองค์ทั้งหลายมาตามระลึกถึงโอชะ
แห่งธรรม  ธรรมสมบัติและการอนุเคราะห์ด้วยธรรมนั้นของท่านพระสารีบุตร.

[๗๓๗]   พ.  ดูก่อนอานนท์   ข้อนั้น    เราได้บอกเธอทั้งหลายไว้ก่อน
แล้วไม่ใช่หรือว่า   จักต้องมีความเป็นต่าง ๆ  ความพลัดพราก   ความเป็นอย่าง
อื่น. จากของรักของชอบใจทั้งสิ้น   เพราะฉะนั้น   จะพึงได้ในของรักชอบใจนี้
แต่ที่ไหน.    สิ่งใดเกิดแล้ว     มีแล้ว     ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว     มีความทำลายเป็น
ธรรมดา  การปรารถนาว่า   ขอสิ่งนั้นอย่าทำลายไปเลย   ดังนี้    มิใช่ฐานะที่จะ
มีได้.

[๗๓๘]  ดูก่อนอานนท์   เปรียบเหมือนเมื่อต้นไม้ใหญ่  มีแก่น  ตั้งอยู่
ลำต้นใดซึ่งใหญ่กว่า   ลำต้นนั้นพึงทำลายลง   ฉันใด    เมื่อภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่
ซึ่งมีแก่น  ดำรงอยู่  สารีบุตรปรินิพพานแล้ว   ฉันนั้นเหมือนกัน  เพราะฉะนั้น
จะพึงได้ในข้อนี้แต่ที่ไหน.    สิ่งใดเกิดแล้ว    มีแล้ว     ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว     มี
ความทำลายเป็นธรรมดา   การปรารถนาว่า   ขอสิ่งนั้นอย่าทำลายไปเลย   ดังนี้
มิใช่ฐานะที่จะมีได้.   เพราะฉะนั้นแหละ.   เธอทั้งหลายจงมีตนเป็นเกาะ   มีตน
เป็นที่พึ่ง  อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง   คือ   มีธรรมเป็นเกาะ  มีธรรมเป็นที่พึ่ง  อย่า
มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่เถิด.

[๗๓๙]  ดูก่อนอานนท์  ภิกษุมีตนเป็นเกาะ  มีตนเป็นที่พึ่ง  ไม่มีสิ่ง
อื่นเป็นที่พึ่ง   คือ   มีธรรมเป็นเกาะ   มีธรรมเป็นที่พึ่ง   ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง
อยู่อย่างไร.   ภิกษุในธรรมวินัยนี้   ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่    มีความ
เพียร  มีสัมปชัญญะ  มีสติ  กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย.  ย่อมพิจารณา
เห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ...  ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ...   ย่อมพิจารณา
เห็นธรรมในธรรมอยู่   มีความเพียร  มีสัมปชัญญะ    มีสติ   กำจัดอภิชฌาและ
โทมนัสในโลกเสีย.  ดูก่อนอานนท์   ภิกษุมีตนเป็นเกาะ.   มีตนเป็นที่พึ่ง  ไม่มี
สิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง  คือ  มีธรรมเป็นเกาะ.  มีธรรมเป็นที่พึ่ง  ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง
อยู่อย่างนี้แล.

[๗๔๐]  ดูก่อนอานนท์   ก็ภิกษุพวกใดพวกหนึ่ง   ในบัดนี้ก็ดี   ใน
กาลที่เราล่วงไปก็ดี  จักเป็นผู้มีตนเป็นเกาะ   มีตนเป็นที่พึ่ง  ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่
พึ่ง  คือ  มีธรรมเป็นเกาะ   มีธรรมเป็นที่พึ่ง   ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่   พวก
ภิกษุเหล่านี้นั้นที่เป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา   จักเป็นผู้เลิศ.

จบจุนทสูตรที่  ๓

********************************************

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 322
พระปัจฉิมวาจา

[๑๔๓]  ลำดับนั้น       พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   บัดนี้ เราขอเตือนพวกเธอว่า  สังขารทั้งหลายมีความเสื่อม
ไปเป็นธรรมดา  พวกเธอจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด.    นี้เป็นพระ-
ปัจฉิมวาจาของพระตถาคต.

********************************************