กล่าวนำและทำความเข้าใจ

กล่าวนำและทำความเข้าใจ

Blog นี้จัดทำขึ้นเนื่องจากการที่ตั้งใจศึกษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าและหลักการปฏิบัติตนตามหลักคำสอนอย่างถูกต้อง
เพราะในปัจจุบันคนเราเน้นการทำบุญโดยเอาความสะดวกสบายและง่ายเข้าว่า โดยบ้างครั้งอาจจะผิดหลักคำสอนจนความตั้งใจทำบุญจริงๆนั้นกลายมาเป็นบาป และบ้างครั้งอาจจะหลงผิดใช้เงินกับการทำบุญที่ผิดวิธีจนได้บาปเช่นกัน แต่เราก็สามารถทำบุญอย่างง่ายๆและถูกต้องได้เช่นกัน ดังนั้นเราจึงต้องรู้หลักการปฏิบัติที่ถูกต้องเพื่อที่จะได้บุญจริงๆ

บทความใน Blog นี้จึงขอมุ่งเน้นหยิบยกเนื้อหาอ้างอิงจากพระไตรปิฏกเป็นหลักและบทความจากผู้ที่ศึกษาพระไตรปิฏกอย่างจริงจังที่น่าจะเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน การทำ Blog นี้มีเจตนาเพื่อเป็นอีกหนึ่งทางที่สำหรับผู้คนอาจจะพบเห็นและได้ศึกษาธรรมมากขึ้น

"การศึกษาอะไรที่ยิ่งใหญ่ อาจจะมาจากเรื่องที่เราสงสัยเล็กๆเพียงเรื่องเดียว"

***ทั้งนี้เนื้อหาที่ได้ลงไปใน Blog ผู้อ่านควรใช้วิจารณญาณและศึกษาจากพระไตรปิฏกควบคู่ไปด้วยเพราะอาจมีการคลาดเคลื่อนของเนื้อหา เพื่อผู้อ่านจะได้รับความรู้ที่ตรงและถูกต้องที่สุดครับ***

วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

อย่าเชื่อสิ่งใดง่ายๆ

อย่าเชื่อสิ่งใดง่ายๆ



วันนี้ผมได้อ่านบทความเกี่ยวกับศาสนาของหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งตามลิงค์ด้านล่าง

http://www.komchadluek.net/detail/20130730/164586/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C.html#.Ufh259LwnqH

ซึ่งผมไม่ขอพูดเรื่องที่เขาเขียนถึงบุคคลในบทความนั้น แต่มีคำกล่าวเริ่มต้นที่ทำให้ผมคิดติดใจและเขียนบทความนี้ขึ้นมา

บทความบางส่วน

บทเรียนจากการไล่ล่า'พระอรหันต์'
บทเรียนจากการไล่ล่า'พระอรหันต์' : วิปัสสนาบนหน้าข่าว โดยพิสุทธิ์ เกรียงบูรพา เรื่อง พงษ์พัฒน์ ไตรพิพัฒน์ ภาพ
          โดยทัศนะส่วนตัว ผมเห็นว่าชาวพุทธเราส่วนใหญ่ ยังคงชอบ 'ไล่ล่าหาพระอรหันต์' กันอยู่ บ้างก็เพื่อกราบไหว้บูชาเป็นสิริมงคล, บ้างก็จะไปขอส่วนสรีระของท่านมาบูชา ไม่ว่าจะเป็นกระดูก ฟัน หรือแม้แต่ 'ขี้' ก็เอา บ้างก็เพื่ออยากได้ บุญ-ทาน ที่หว่านลงบนเนื้อนาบุญอันบริสุทธิ์ เพื่อเปี่ยมอานิสงส์สูงสุด ไม่รู้ไปเชื่อตำราที่ไหนมา ที่ว่า การทำบุญแบบทวีคูณ คูณแฟกเตอร์ ๑๐๐ เท่าไปเรื่อยๆ จาก ทำทานต่อสัตว์เดรัจฉาน ได้บุญน้อยกว่ากับคนทุศีล ๑๐๐ เท่า ทำทานแก่คนทุศีล ได้บุญน้อยกว่าคนมีศีล ๕  ถึง ๑๐๐ เท่า  ฯลฯ ทำบุญแด่พระธรรมดาๆ หรืออริยสงฆ์ชั้นต้น ก็ยังได้บุญน้อยกว่า พระอรหันต์ เป็นต้น ไล่ไปเรื่อยๆ ฯลฯ กระทั่งถึง ธรรมทาน การให้ธรรมะเป็นทานสูงสุด
          พุทธบริษัทเรา จึงเฝ้าเค้นหาล่าพระอรหันต์มาให้ได้แบบองค์เป็นๆ เพื่อจะได้อานิสงส์แห่งบุญสูงๆ เพราะเป็นขั้นเกือบสูงสุดทีเดียว นี้คือ ความบ้า อย่างหนึ่งผมไม่แน่ใจนักว่า ทฤษฎีทวีคูณ ทีละร้อยๆ แบบนี้ จะถูกต้องหรือไม่ แต่ผมรู้เรื่องที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนมาอย่างหนึ่งนะครับว่า  ท่านไม่เคยสอนให้เรา อยากได้ อยากมี อยากเป็น แม้แต่การทำบุญทำทาน ก็เป็นไปเพื่อ สละ ละอัตตา ตัวตน เพื่อความไม่มี ไม่เอา ไม่เป็น ทั้งสิ้น ดังนั้น ใครก็ตามที่คิดไล่ล่าหาพระอรหันต์มาทำบุญ เพื่อตัวกูของกู จะได้มีบุญวัตถุที่สูงๆ ขึ้นไปนั้น ไม่น่าจะถูกต้องตามพระพุทธประสงค์เลย
.
.
.
.

โดยถ้าอ่านโดยรวมของบทความทั้งหมดแล้ว นั้นได้ให้ข้อคิดต่อผู้อ่านมากครับ 
(สามารถอ่านบทความเต็มได้จาก 
http://www.komchadluek.net/detail/20130730/164586/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C.html#.Ufh259LwnqH)
แต่การเขียนเรื่องศาสนานั้นต้องระวัง ถ้าเกิดเราเขียนผิด แล้วมีผู้เข้าใจผิด แล้วไปปฏิบัติตามผิดๆ เรานั้นได้บาปแน่นอนอย่างที่ทำไฮไลท์สีไว้

"ไม่รู้ไปเชื่อตำราที่ไหนมา ที่ว่า การทำบุญแบบทวีคูณ คูณแฟกเตอร์ ๑๐๐ เท่าไปเรื่อยๆ จาก ทำทานต่อสัตว์เดรัจฉาน ได้บุญน้อยกว่ากับคนทุศีล ๑๐๐ เท่า ทำทานแก่คนทุศีล ได้บุญน้อยกว่าคนมีศีล ๕  ถึง ๑๐๐ เท่า  ฯลฯ ทำบุญแด่พระธรรมดาๆ หรืออริยสงฆ์ชั้นต้น ก็ยังได้บุญน้อยกว่า พระอรหันต์ เป็นต้น ไล่ไปเรื่อยๆ ฯลฯ กระทั่งถึง ธรรมทาน การให้ธรรมะเป็นทานสูงสุด"

ซึ่งข้อความนี้ไม่ทราบว่าผู้เขียนได้อ่านจากพระไตรปิฏกหรือไม่ หรือว่าอ่านฉบับไหน ถึงไม่เจอพระสูตรที่อ้างเรื่องนี้


๑๒.   ทักษิณาวิภังคสูตร
.
.
.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 394

[๗๑๑]  ดูก่อนอานนท์  ใน ๑๔ ประการนั้น     บุคคลให้ทานในสัตว์
เดียรัจฉาน  พึงหวังผลทักษิณาได้ร้อยเท่า  ให้ทานในปุถุชนผู้ทุศีล  พึงหวังผล
ทักษิณาได้พันเท่า     ให้ทานในปุถุชนผู้มีศีล    พึงหวังผลทักษิณาได้แสนเท่า.
ให้ทานในบุคคลภายนอกผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม   พึงหวังผลทักษิณาได้
แสนโกฏิเท่า.    ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง    พึงหวังผล
ทักษิณาจะนับไม่ได้     จะประมาณไม่ได้    จะป่วยกล่าวไปไยในพระโสดาบัน
ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง   ในพระสกทาคามี   ในท่านผู้ปฏิบัติ
เพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง    ในพระอนาคามี    ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอรหัตผล
ให้แจ้ง   ในสาวกของตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์    ในปัจเจกสัมพุทธะ    และใน
ตถาคตอรหันต์  สัมมาสัมพุทธเจ้า.
.
.
**************************************

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 775
๑๐. เวลามสูตร
ว่าด้วยการให้ทานที่มีผลมาก

[๒๒๔] สมัยหนึ่ง   พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่   ณ  พระ-
วิหารเชตวัน    อารามของท่านอนาถบิณฑิกเครษฐี    ใกล้ประนคร
สาวัตถี    ครั้งนั้นแล    ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มี-

วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ทัศนศึกษาธรรม คณะกฐิน ผ้าป่า ไหว้พระ 9 วัด ได้บุญหรือบาป ?

ทัศนศึกษาธรรม คณะกฐิน ผ้าป่า ไหว้พระ 9 วัด ได้บุญหรือบาป ?


ช่วงนี้เป็นช่วงเข้าพรรษาเห็นเด็กแต่งชุดขาวเข้าวัดตามที่โรงเรียนจัดกิจกรรมมากมายรวมทั้งหลานของผมด้วย
แต่พอได้ศึกษาพระธรรมและการทำผิดต่างๆนาๆ เลยนึกถึงสมัยเรียนที่โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยนั้นพาไปทำบุญ ไหว้พระ 7 วัด 9 วัด ทัศนศึกษาธรรมต่างๆ คณะแสวงบุญตะเวนทำบุญตามที่ต่างๆ โดยหารู้ไหมว่าจากที่เด็กคิดว่าจะได้บุญ แต่อาจจะได้บาปกันถ้วนหน้า ถ้าผู้ใหญ่ที่จัดนั้นพาทำไม่ถูกต้องครับ

ยิ่งมีข่าวว่ารถประจำทางประสบอุบัติเหตจากการที่กลับบ้านไปทำบุญช่วงวันหยุดยาวอาสาฬหบูชา และ เข้าพรรษาด้วยแล้วยิ่งสลดใจมากครับ ขอแสดงความเสียใจกับญาติผู้เสียชีวิตด้วยครับ

จึงน่าคิดหรือไม่ครับว่าทำไมทำบุญแล้วกับต้องมาเสียชีวิตอย่างทุกข์ ทรมานอย่างนั้น ผลบุญที่ทำไม่ได้ช่วยบ้างเลยหรือ ?
เราทำบุญผิดหรือทำถูกต้อง ?
ถ้าเราทำบุญถูกต้องจริงทำไมต้องมาเจอเรื่องราวอย่างนี้ด้วย ?

ฝากให้คิดกันครับ แต่ถ้าผู้ใดหาคำตอบไม่ได้ลองศึกษาพระไตรปิฏกดูครับมีคำตอบให้ในทุกๆเรื่องครับ

โดยส่วนตัวผมคิดว่าไหว้พระหรือทำบุญแบบผิดๆ 1 วัด ก็แย่แล้ว แต่นี้ 9 วัด จะแย่ขนาดไหน แล้วชีวิตเราจะดีขึ้นไหม
ส่วนเรื่องทอดกฐินไม่ต้องพูดถึงเลยครับ เพราะในปัจจุบันทำกฐินผิดไปจากหลักธรรมอย่างมากครับ โดยนำเงินไปถวายเลย โดยไม่ดูเลยว่าพระรับเงินไม่ได้ พระรับมาเพื่อ.......ไม่ได้ พระรับมาเพื่อสร้าง.......ไม่ได้ ครับ
แต่ถ้าเราทำถูก ทำบุญถูก 1 วัดได้บุญขนาดไหน และถ้าถูก 9 วัดหละ จะเป็นบุญมากขนาดไหนครับ

ลองคิดดูว่าเราไปทัศนศึกษาไหว้พระ 9 วัดกันเพื่ออะไร

1.พักผ่อน
2.ไปดูวัดที่สวยงาม (ติดรูป ตายไปตกนรกหรือกำเนิดสัตว์เดียรฉาน)
3.ไปทำบุญที่วัด (ทำแบบผิดๆ ให้เงิน ให้ทองพระ บาป)
4.ไปไหว้พระเพื่อเป็นศิริมงคล (ติดรูป ตายไปตกนรกหรือกำเนิดสัตว์เดียรฉาน และไม่ได้ศิริมงคลด้วย)
5.เพื่อให้รู้ว่าเราเป็นเมืองพุทธ


ติดรูป ตายไปตกนรกนรกหรือกำเนิดสัตว์เดียรฉาน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 357
๘.  อาทิตตปริยายสูตร
ว่าด้วยอาทิตตปริยายและธรรมปริยาย

[๓๐๓]  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอาทิตตปริยายและธรรม
ปริยายแก่เธอทั้งหลาย   เธอทั้งหลายจงฟัง   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   อาทิตต-
ปริยายและธรรมปริยายเป็นไฉน.     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย    บุคคลแทงจัก-
ขุนทรีย์ด้วยหลาวเหล็กอันร้อนไฟติดลุกโพลงแล้ว    ยังดีกว่า    การถือนิมิต
โดยอนุพยัญชนะในรูป    อันจักขุวิญญาณพึงรู้แจ้ง    จะดีอะไร    วิญญาณ
อันตะกรามด้วยความยินดีในนิมิต      หรือตะกรามด้วยความยินดีในอนุ-
พยัญชนะ  เมื่อตั้งอยู่ก็พึงตั้งอยู่ได้  ถ้าบุคคลพึงทำกาลกิริยาเสียในสมัยนั้น
ไซร้  ข้อที่บุคคลจะพึงเข้าถึงคติ  ๒  อย่าง  คือ  นรกหรือกำเนิดสัตว์
เดียรฉานอย่างใดอย่างหนึ่ง  ก็เป็นฐานะที่จะมีได้  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราเห็นโทษอันนี้  จึงกล่าวอย่างนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  บุคคลเกี่ยวโสตินทรีย์ด้วยขอเหล็กอันคม
ไฟติดลุกโพลงแล้ว  ยังดีกว่า  การถือนิมิตโดยอนุพยัญชนะในเสียงอัน
โสตวิญญาณพึงรู้แจ้ง  จะดีอะไร  วิญญาณนิมิตโดยอนุพยัญชนะในเสียงอัน
นิมิตหรือตะกรามด้วยความยินดีในอนุพยัญชนะเมื่อตั้งอยู่ก็พึงตั้งอยู่ได้

วันพุธที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

คู่มือดูพระแท้

คู่มือดูพระแท้


ช่วงนี้มีข่าวของพระออกมารายวัน  บทความนี้ผมจึงขอยกบทความของผู้ที่ศึกษาพระธรรมที่ผมเอาเป็นแบบอย่างอีก 1 ท่าน  มาให้อ่านนะครับ และ แนบด้วยไฟล์หนังสือ "คู่มือดูพระแท้" ฉบับธรรมทาน ซึ่งอ่านและเข้าใจง่ายครับสำหรับผู้ที่อยากศึกษาและข้อที่เราควรรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติต่อพระครับ


ณัฐพบธรรม

ขอความร่วมมือ ขอความช่วยเหลือ !!

เกี่ยวกับ ข่าวค(ร)าวพระสงฆ์ ในช่วงที่ผ่านมา
และความรู้ที่จำเป็น สำหรับชาวพุทธทุกคน

(เป็นประโยชน์ และได้บุญมาก)
(โพสท์ซ้ำ เผื่อบางคนไม่เห็น)
-----------------------------------------------
จากที่ผมได้โพส์เอาไว้ว่า หากชาวพุทธ"ส่วนใหญ่"
มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง และดีงาม
มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพระวินัยในระดับหนึ่ง
-----------------------------------------------------
เราก็จะได้ชาวบ้านที่มีความรู้ว่า 
การทำบุญกับพระแบบไหนควรทำ แบบไหนไม่ควรทำ
พระแบบไหนที่ควรกราบไหว้ควรเข้าใกล้
ทำให้พระที่ผิดศีล และสอนผิดๆมีน้อยลง
และทำให้พระที่มีศีล สอนสิ่งที่ถูกต้องมีมากขึ้น

และความรู้นั้นก็จะทำให้ชาวบ้านแบบเราๆ
เวลาบวชเป็นพระ ก็จะรู้ว่าอะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ
----------------------------------------------------
สิ่งเหล่านี้ก็จะส่งผลให้เรา
สามารถสร้างสังคมที่มีแต่"พระแท้" 
ตามแบบอย่างที่พระพุทธเจ้าบัญญัติเอาไว้
ซึ่งพระเหล่านั้น ก็จะเผยแผ่ธรรมะของพระพุทธเจ้า
และปฏิบัติตนอย่างเหมาะสม น่าเคารพกราบไหว้
(ไม่ใช่เอาแต่สร้างความเสื่อมเสีย และทำลายศรัทธา)
----------------------------------------------------
ในวันนี้ผมจึงอยากจะขอความร่วมมือและความช่วยเหลือจากทุกท่าน
ช่วยกันกระจาย"ความรู้" ดังกล่าวไปให้มากที่สุด
----------------------------------------------------
โดยผมได้นำเอาเนื้อหาในบทที่สำคัญ(บางบท)
จากหนังสือ "คู่มือดูพระแท้"
มาทำเป็นไฟล์ pdf ให้สามารถ Download ได้ฟรี !
(ได้คุยกับทางอมรินทร์แล้ว และขอบคุณ คุณ @Toon Sittha ที่ช่วยจุดประกายความคิดนี้)

(อ่านเกี่ยวกับหนังสือ คู่มือดูพระแท้ได้ตามลิงค์http://www.nutpobtum.com/index.php?mo=3&art=41996775 )
----------------------------------------------------

โดยความร่วมมือและความช่วยเหลือที่ผมต้องการนั้น
"ไม่ใช่" แค่การแชร์ข้อความนี้ หรือแชร์ลิงค์
แต่อยากจะขอให้ช่วยกระจายไฟล์ดังกล่าวไปให้"มากที่สุด"
มีคนได้อ่าน"มากที่สุด" ด้วยวิธีการไหนก็ได้

เช่น โหลดไฟล์จากลิงค์ด้านล่าง แล้วนำไฟล์ไปฝากเอาไว้ที่เวบอื่น ให้ในคนได้โหลดฟรี
หรือ โหลดไฟล์จากลิงค์ด้านล่าง แล้วแนบไฟล์ไปกับ E-mail แล้วส่งให้เพื่อนๆทุกคนช่วยกระจายต่อ

(คลิ้กที่คำว่า download ที่อยู่เหนือคำว่า "แจ้งลบไฟล์นี้ !")

(ทำอย่างไรก็ได้ครับ เพราะผมไม่หวง และยินดีให้เผยแพร่ให้มากทีสุด)
----------------------------------------------------
ขอขอบคุณทุกท่านล่วงหน้า
สำหรับความร่วมมือและความช่วยเหลือนี้
ที่เราทุกคนจะช่วยกันทำให้ศาสนาพุทธในประเทศไทยดีขึ้น
ซึ่งเป็นการกระทำที่เป็นประโยชน์มาก และได้บุญมาก
ขอบคุณครับ _/\_
----------------------------------------------------

ณัฐพบธรรม

วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ระดับของผู้ปฏิบัติเพื่อนิพพาน

ระดับของผู้ปฏิบัติเพื่อนิพพาน


ในการปฏิบัติธรรมเพื่อให้ถึงนิพพานนั้น ส่วนใหญ่เราจะรู้จักบุคคลอยู่ 2 ระดับคือ
1.พระโสดาบัน
2.พระอรหันต์

แต่จริงๆแล้วจะมีบุคคลอยู่ 4 ระดับ ได้แก่
1.พระโสดาบัน
2.พระสกทาคามี
3.พระอนาคามี
4.พระอรหันต์

ตามที่ได้ระบุไว้ตามบทต่อไปนี้ครับ และผู้ที่ปฏิบัติแต่ระดับเป็นอย่างไรครับ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 15

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะเป็นไฉน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย    ภิกษุในศาสนานี้      เพราะสิ้นไปแห่งสังโยชน์สาม  เป็น
โสดาบัน   มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา   เป็นผู้เที่ยง   มีการตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  นี้สมณะ.  สกทาคามี  ชื่อว่า สมณะที่ ๒.  ด้วยเหตุนั้นแล
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะที่ ๒เป็นไฉน ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย      ภิกษุในศาสนานี้เป็นสกทาคามี      เพราะสังโยชน์สามสิ้นไป
เพราะความที่ราคะ  โทสะ  และโมหะ   เบาบางกลับมาสู่โลกนี้   ครั้งเดียวเท่านั้น
ก็จะทำที่สุคแห่งทุกข์ได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  นี้สมณะที่ ๒ ดังนี้.  พระอนาคามี
ชื่อว่า  สมณะที่ ๓.  ด้วยเหตุนั้นแล  พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า  ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย  ก็สมณะที่ ๓ เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในศาสนานี้  เพราะ
ความสิ้นไปแห่งสังโยชน์เบื้องต่ำ  ๕  อย่าง   เป็นอุปปาติกะ    ปรินิพพานในภพ
นั้น ไม่เวียนกลับมาจากโลกนั้น  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  นี้สมณะที่ ๓. พระอรหันต์
ชื่อว่า  สมณะที่  ๔  ด้วยเหตุนั้นเเล  พระผู้มีพระภาคเจ้า  จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ก็สมณะที่  ๔ เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในศาสนานี้  กระทำ
ให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ  ปัญญาวิมุตติ  อันหาอาสวะมิได้  เพราะความสิ้นไปแห่ง
อาสวะทั้งหลายด้วยอภิญญาของตนเอง เข้าถึงอยู่ในทิฏฐธรรมเทียว ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย   นี้สมณะที่ ๔.

บัญญัติสิกขาบท

บัญญัติสิกขาบท


ขณะนี้มีเรื่องพระออกมาอย่างมากมาย เพราะว่าอะไร ?
ในความคิดของผมนั้นในปัจจุบันถ้าใครมาพูดเรื่องศาสนา หรือพระนิพพาน คนอื่นเขาจะมองว่าเรา บ้า ครับ  เพราะว่าโลกนั้นก้าวไปเร็วและมีวิทยาศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้อง
ทั้งที่คนไทยก็พูดกันว่าเป็นพุทธ นับถือพุทธ แต่พอพูดเรื่องพระนิพพานที่เป็นหัวใจของศาสนากลับโดนมองว่าไร้สาระ ผมก็ไม่เข้าใจเช่นกัน
แต่ก็ว่ากันไม่ได้ครับก่อนหน้าที่ผมจะมาศึกษาเรื่องนี้ก็คิดว่ามันเป็นเรื่องไกลเกินตัวเองเช่นกัน แต่พอศึกษาแล้วมันไม่ได้ไกลเกินไปเลยครับ
สุดท้ายก็มีข่าวออกมามากมายครับว่าพระเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ ปฏิบัติตนเหมาะสมหรือไม่ แล้วเราก็ว่าแต่พระฝ่ายเดียว  กลับไม่มองดูตัวเราเลยว่าเราเคยศึกษาที่ถูกต้องไหม  สิ่งของที่นำไปถวายถูกต้องตามพระวินัยไหมพระสามารถรับไว้ได้หรือเปล่า  เพราะพระส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ศึกษาเช่นเดียวกับเราครับ
และคำพูดสุดคลาสสิค 1 คำ คือ "นี้มันสมัยไหนแล้ว" นี้ละครับคือสิ่งที่ส่งเสริมให้ทั้งคนทั้งพระเป็นแบบทุกวันนี้

ในการบัญญัติสิกขาบทพระพุทธเจ้าอาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ  ซึ่ง ๑๐ ประการนั้นครอบคลุมและถือว่าไม่ได้ทำให้พระภิกษุผู้ปฏิบัตินั้นอยู่ยากครับ และป้องกันสิ่งต่างๆที่จะทำให้ศาสนาเสื่อม และท่านระบุชัดเจนว่ามีท่านผู้เดียวที่สามารถบัญญัติสิกขาบท และบทลงโทษต่างๆได้ครับ


การบัญญัติสิกขาบทพระพุทธเจ้าอาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ ดังนี้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   เพราะเหตุนั้นแล    เราจักบัญญัติสิกขาบท
แก่ภิกษุทั้งหลาย  อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ    คือ  
เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์  ๑     
เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑     
เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑     
เพื่อยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก  ๑      
เพื่อป้องกันอาสวะอันจะเกิดในปัจจุบัน  ๑       
เพื่อกำจัดอาสนะอันจักบังเกิดในอนาคต  ๑    
เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑   
เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว  ๑ 
เพื่อความตั้งมั่น แห่งพระสัทธรรม ๑   
เพื่อถือความพระวินัย  ๑

*******************************************************

พระพุทธเจ้าสามารถบัญญัติสิกขาบทได้เพียงผู้เดียว

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 236

เพราะฉะนั้น   ธรรมดาว่าการทรงบัญญัติสิกขาบท   ในเมื่อเรื่องลง
กันได้อย่างนี้ว่า  นี้โทษเบา  นี้โทษหนัก   นี้เป็นความผิดแก้ไขไม่ได้   นี้
เป็นอาบัติ   นี้ไม่เป็นอาบัติ    นี้เป็นอาบัติถึงชั้นเด็ดขาด     นี้เป็นอาบัติถึง
ขั้นอยู่กรรม  นี้เป็นอาบัติขั้นแสดง  นี้เป็นโลกวัชชะ  นี้เป็นปัณณัตติวัชชะ
ควรบัญญัติข้อนี้เข้าในเรื่องนี้   ดังนี้  ในการทรงบัญญัติสิกขาบทนั้น  ผู้อื่น
ไม่มีปรีชาสามารถ      เรื่องนี้มิใช่วิสัยของผู้อื่น     เป็นวิสัยของพระตถาคต
เท่านั้น.  ดังนั้น   การที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงถึงฐานะ  คือ ทรงบัญญัติ
พระวินัยดังนี้   ทรงบันลือจึงเป็นการยิ่งใหญ่   พระปรีชาญาณก็ติดตามมา
ประกอบด้วยสุญญตา   ดังนี้แล.

*******************************************************

ส่วนตัวผมคิดว่าถ้าพระปฏิบัติตามธรรมวินัยให้ถูกต้องสมกับที่บวชในศาสนานี้ และคนอย่างน้อยศึกษาพระไตรปิฏกฉบับประชาชนให้รู้ว่าสิ่งไหนควร ไม่ควร ถูก หรือ ผิด ประเทศไทยเราน่าจะน่าอยู่มากขึ้นกว่านี้อีกมากครับ และพระจะเป็นเนื้อนาบุญ  เพื่อให้โยมได้ทำบุญ  ที่ได้บุญจริงๆ  กันอย่างมากมายครับ

พระแม่ธรณี

พระแม่ธรณี



ถ้าพูดชื่อบุคคลผู้หนึ่งขึ้นมาผมเชื่อว่าทุกท่านคงจะรู้จักกันแน่นอน คือ พระแม่ธรณี
เรื่องของท่านผู้นี้มีอยู่ว่า ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะตรัสรู้นั้นมีพญามารมาขัดขวาง และพระแม่ธรณีผู้นี้ได้ปรากฏตัวเพื่อยืนยันถึงบุญบารมีที่พระพุทธเจ้าได้ทำไว้อย่างมากมาย และได้บิดมวยผมจนทำให้น้ำท่วมเหล่ามาร จนเหล่ามารนั้นก็หนี้ไปจนหมด

แต่พอไปอ่านในพระไตรปิฏกกลับไม่มีพระแม่ธรณีผู้นี้อยู่ครับ !!!


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 721
ข้างซ้ายก็อย่างนั้น    แต่ข้างหลัง    ตั้งอยู่สุดจักรวาล    เบื้องบนสูง  ๙  โยชน์.
ได้ยินเสียงคำราม   ดังเสียงแผ่นดินคำราม   ตั้งแต่เก้าพันโยชน์.
สมัยนั้น     ท้าวสักกเทวราช   ทรงยืนเป่าสังข์    ชื่อวิชยุตตระ   เขาว่า
สังข์นั้น    ยาวสองพันศอก.  คนธรรพ์เทพบุตรชื่อปัญจสิขะ  ถือพิณสีเหลืองดัง
ผลมะตูม   ยาวสามคาวุตบรรเลง    ยืนขับร้องเพลงประกอบด้วยมงคล     ท้าว-
สุยามเทวราช   ทรงถือทิพยจามร   อันมีสิริดังดวงจันทร์ยามฤดูสารท    ยาวสาม
คาวุต    ยืนถวายงานพัดลมอ่อน ๆ.    ส่วนท้าวสหัมบดีพรหม    ยืนกั้นฉัตรดัง
จันทร์ดวงที่สอง     กว้างสามโยชน์    ไว้เบื้องบนพระผู้มีพระภาคเจ้า     แม้แต่
มหากาฬนาคราช  อันนาคฝ่ายฟ้อนรำแปดหมื่นแวดล้อม  ร่ายคาถาสดุดีนับร้อย
ยืนนมัสการพระมหาสัตว์    เทวดาในหมื่นจักรวาล     บูชาด้วยพวงดอกไม้หอม
และจุรณธูปเป็นต้น    พากันยืนถวายสาธุการ.
ลำดับนั้น     เทวบุตรมารขึ้นช้างที่กันข้าศึกได้    เป็นช้างที่ประดับด้วย
รัตนะ   ชื่อคิริเมขละ   งามน่าดูอย่างยิ่ง   เสมือนยอดหิมะคิรี   ขนาดร้อยห้าสิบ
โยชน์    เนรมิตแขนพันแขน   ให้จับอาวุธต่าง ๆ  ด้วยการจับอาวุธที่ยังไม่ได้จับ.
แม้บริษัทของมารมีกำลังถือดาบ  ธนู  ศร  หอก  ยกธนู  สาก  ผาล  เหล็กแหลม
หอก หลาว  หิน ค้อน  กำไลมือ  ฉมวก  กงจักร  เครื่องสวมคอ   ของมีคม   มี
หน้าเหมือนกวาง  ราชสีห์  แรด  กวาง  หมู  เสือ  ลิง   งู  แมว  นกฮูก   และมี
หน้าเหมือนควาย  ฟาน  ม้า ช้างพลายเป็นต้น  มีกายต่าง ๆน่ากลัว  น่าประหลาด
น่าเกลียด   มีกายเสมือนมนุษย์ยักษ์ปีศาจ   ท่วมทับพระมหาสัตว์โพธิสัตว์   ผู้
ประทับนั่ง  ณ  โคนโพธิพฤกษ์   เดินห้อมล้อม   ยืนมองดูการสำแดงของมาร.
แต่นั้น    เมื่อกองกำลังของมาร  เข้าไปยังโพธิมัณฑสถาน   บรรดาเทพ
เหล่านั้น    มีท้าวสักกะเป็นต้น    เทพแม้แต่องค์หนึ่ง  ก็ไม่อาจจะยืนอยู่ได้.  เทพ


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 722
ทั้งหลายก็พากันหนีไปต่อหน้า ๆ นั่นแหละ   ก็ท้าวสักกะเทวราช   ทำวิชยุตตร-
สังข์ไว้ที่ปฤษฎางค์    ประทับยืน  ณ ขอบปากจักรวาล.    ท้าวมหาพรหม    วาง