กล่าวนำและทำความเข้าใจ

กล่าวนำและทำความเข้าใจ

Blog นี้จัดทำขึ้นเนื่องจากการที่ตั้งใจศึกษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าและหลักการปฏิบัติตนตามหลักคำสอนอย่างถูกต้อง
เพราะในปัจจุบันคนเราเน้นการทำบุญโดยเอาความสะดวกสบายและง่ายเข้าว่า โดยบ้างครั้งอาจจะผิดหลักคำสอนจนความตั้งใจทำบุญจริงๆนั้นกลายมาเป็นบาป และบ้างครั้งอาจจะหลงผิดใช้เงินกับการทำบุญที่ผิดวิธีจนได้บาปเช่นกัน แต่เราก็สามารถทำบุญอย่างง่ายๆและถูกต้องได้เช่นกัน ดังนั้นเราจึงต้องรู้หลักการปฏิบัติที่ถูกต้องเพื่อที่จะได้บุญจริงๆ

บทความใน Blog นี้จึงขอมุ่งเน้นหยิบยกเนื้อหาอ้างอิงจากพระไตรปิฏกเป็นหลักและบทความจากผู้ที่ศึกษาพระไตรปิฏกอย่างจริงจังที่น่าจะเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน การทำ Blog นี้มีเจตนาเพื่อเป็นอีกหนึ่งทางที่สำหรับผู้คนอาจจะพบเห็นและได้ศึกษาธรรมมากขึ้น

"การศึกษาอะไรที่ยิ่งใหญ่ อาจจะมาจากเรื่องที่เราสงสัยเล็กๆเพียงเรื่องเดียว"

***ทั้งนี้เนื้อหาที่ได้ลงไปใน Blog ผู้อ่านควรใช้วิจารณญาณและศึกษาจากพระไตรปิฏกควบคู่ไปด้วยเพราะอาจมีการคลาดเคลื่อนของเนื้อหา เพื่อผู้อ่านจะได้รับความรู้ที่ตรงและถูกต้องที่สุดครับ***

วันพฤหัสบดีที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2556

เรื่องพระกับเงิน


เรื่องพระกับเงิน


ตั้งแต่จำความได้เราได้รับการปลูกฝังสิ่งที่ผิด การกระทำที่ผิด ซึ่งอาจจะเป็นแบบการกระทำที่สืบต่อกันมาจากหลายๆรุ่นจนไม่รู้ว่าผิดเพี้ยนกันไปขนาดไหน และบวกกับความสะดวกสบายของตัวเราเอง โดยที่ไม่ได้ศึกษาอย่างจริงจังให้ถูกต้องเพราะเราเชื่อบุคคลเหล่านั้นที่เป็น พ่อเรา แม่เรา ปู่ ย่า ตา ยายเรา ที่พาเราทำต่อๆกันมา

ในสมัยที่ผมได้บวชนั้น วันหนึ่งได้บิณฑบาตพบแม่ลูก 2 คนคู่หนึ่ง สิ่งที่เขาได้พาลูกใส่บาตรนั้นคือเงินครับ ซึ่งตอนนั้นผมได้บวชแต่ไม่ได้ศึกษาพระธรรมแต่ก็พอรู้ว่าสิ่งที่ทำนั้นมันไม่ดีคือการนำเงินใส่บาตรเพราะพระนั้นจับเงินไม่ได้จะเป็นอาบัติครับ แต่ก็ไม่รู้จะพูดยังไงเช่นกัน นี้คือสิ่งที่เราปลูกฝังลูกเราผิดๆครับแต่ผมเข้าใจนะครับว่าเขาอยากทำบุญและน่าจะสะดวกที่ทำอย่างนี้มากกว่าไปวัด

พระไม่สามารถรับเงิน ทอง สิ่งของที่มีค่า หรือแม้กระทั้งซื้อของเองได้

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๙  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
จุลศีล
 [๑๐๓] ดูกรมหาบพิตร อย่างไร ภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล.
             
             ๑๓. เธอเว้นขาดจากการรับทองและเงิน.
             ๑๔. เธอเว้นขาดจากการรับธัญญาหารดิบ.
             ๑๕. เธอเว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ.
             ๑๖. เธอเว้นขาดจากการรับสตรีและกุมารี.
             ๑๗. เธอเว้นขาดจากการรับทาสีและทาส.
             ๑๘. เธอเว้นขาดจากการรับแพะและแกะ.
             ๑๙. เธอเว้นขาดจากการรับไก่และสุกร.
             ๒๐. เธอเว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า และลา.
             ๒๑. เธอเว้นขาดจากการรับไร่นาและที่ดิน.
             ๒๒. เธอเว้นขาดจากการประกอบทูตกรรมและการรับใช้.
             ๒๓. เธอเว้นขาดจากการซื้อการขาย.
             ๒๕. เธอเว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวง และการตลบตะแลง.

สามารถศึกษาข้ออื่นๆเพิ่มเติมได้จาก
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/item.php?book=9&item=103&items=12&preline=0


หรือแม้กระทั้งให้คนอื่นรับแทนหรือเก็บไว้ให้

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒  พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒

พระบัญญัติ
             ๓๗. ๘. อนึ่ง ภิกษุใด รับก็ดี ให้รับก็ดี ซึ่งทอง เงิน หรือยินดีทอง เงินอันเขาเก็บไว้ให้, เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.

สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จาก โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๘ เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/item.php?book=2&item=105&items=12&preline=0

ทั้งนี้ยังมีอีกหลายอย่างที่เป็นข้อห้ามและทำให้พระต้องอาบัติครับ แต่ก็ยังมีวิธีที่บริจาคเงินอยู่ครับน่าจะได้มาเขียนในคราวหน้าครับ

สามารถศึกษาเพิ่มเพิ่มควบคู่เพื่อให้รู้จริงได้ที่ www.84000.org ซึ่งผู้จัดทำเว็บเขาได้ทำการรวบรวมพระไตรปิฏกไว้ให้ศึกษาครับ
และขอบคุณหนังสือ "คู่มือดูพระแท้" ของคุณณัฐพบธรรม ด้วยครับ สามารถเข้าไปดูบทความดีๆได้ที่ www.nutpobtum.com ครับ 
ขอขอบคุณทั้ง 2 เว็บดีๆไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น