กล่าวนำและทำความเข้าใจ

กล่าวนำและทำความเข้าใจ

Blog นี้จัดทำขึ้นเนื่องจากการที่ตั้งใจศึกษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าและหลักการปฏิบัติตนตามหลักคำสอนอย่างถูกต้อง
เพราะในปัจจุบันคนเราเน้นการทำบุญโดยเอาความสะดวกสบายและง่ายเข้าว่า โดยบ้างครั้งอาจจะผิดหลักคำสอนจนความตั้งใจทำบุญจริงๆนั้นกลายมาเป็นบาป และบ้างครั้งอาจจะหลงผิดใช้เงินกับการทำบุญที่ผิดวิธีจนได้บาปเช่นกัน แต่เราก็สามารถทำบุญอย่างง่ายๆและถูกต้องได้เช่นกัน ดังนั้นเราจึงต้องรู้หลักการปฏิบัติที่ถูกต้องเพื่อที่จะได้บุญจริงๆ

บทความใน Blog นี้จึงขอมุ่งเน้นหยิบยกเนื้อหาอ้างอิงจากพระไตรปิฏกเป็นหลักและบทความจากผู้ที่ศึกษาพระไตรปิฏกอย่างจริงจังที่น่าจะเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน การทำ Blog นี้มีเจตนาเพื่อเป็นอีกหนึ่งทางที่สำหรับผู้คนอาจจะพบเห็นและได้ศึกษาธรรมมากขึ้น

"การศึกษาอะไรที่ยิ่งใหญ่ อาจจะมาจากเรื่องที่เราสงสัยเล็กๆเพียงเรื่องเดียว"

***ทั้งนี้เนื้อหาที่ได้ลงไปใน Blog ผู้อ่านควรใช้วิจารณญาณและศึกษาจากพระไตรปิฏกควบคู่ไปด้วยเพราะอาจมีการคลาดเคลื่อนของเนื้อหา เพื่อผู้อ่านจะได้รับความรู้ที่ตรงและถูกต้องที่สุดครับ***

วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2556

การทำบุญโดยไม่เสียเงิน


การทำบุญโดยไม่เสียเงิน



สมัยนี้เงินทองหายากและต้องใช้จ่ายเยอะ จนกระทั้งว่าแค่คิดที่จะออกจากบ้านก็เสียเงินแล้ว ทั้งค่ารถไปปากซอย รถประจำทาง รถไฟฟ้า ค่าอาหาร และอีกหลายอย่าง ในบทความที่แล้วๆมาผมได้กล่าวถึงว่ามีการทำบุญที่ไม่ต้องใช้เงินแล้วได้บุญอยู่ ซึ่งอาจจะเรียกว่าเป็นการปฏิบัติตนน่าจะดีกว่าเพราะเราสามารถทำได้เลยทุกที่ทุกเวลาครับ และในบทความนี้จะขอยกตัวอย่างมาให้ศึกษาดูครับ

บุญกิริยาวัตถุ 10 สิ่งที่เป็นที่ตั้งแห่งการทำบุญ, เรื่องที่จัดเป็นการทำบุญ, ทางทำความดี,
       หมวด ๓ คือ
           ๑. ทานมัย (ทำบุญด้วยการให้)
           ๒. สีลมัย (ทำบุญด้วยการรักษาศีลและประพฤติดี)
           ๓. ภาวนามัย (ทำบุญด้วยการเจริญภาวนา)
       หมวด ๑๐ คือ
           ๑. ทานมัย (ทำบุญด้วยการให้)
           ๒. สีลมัย (ทำบุญด้วยการรักษาศีลและประพฤติดี)
           ๓. ภาวนามัย (ทำบุญด้วยการเจริญภาวนา)
           ๔. อปจายนมัย (ด้วยการประพฤติอ่อนน้อม)
           ๕. เวยยาวัจจมัย (ด้วยการช่วยขวนขวายรับใช้)
           ๖. ปัตติทานมัย (ด้วยการเฉลี่ยส่วนความดีให้ผู้อื่น)
           ๗. ปัตตานุโมทนามัย (ด้วยความยินดี ความดีของผู้อื่น)
           ๘. ธัมมัสสวนมัย (ด้วยการฟังธรรม)
           ๙. ธัมมเทสนามัย (ด้วยการสั่งสอนธรรม)
           ๑๐. ทิฏฐุชุกัมม์ (ด้วยการทำความเห็นให้ตรง เช่น เชื่อเรื่องบาป บุญ)



ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่
http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%BA%D8%AD%A1%D4%C3%D4%C2%D2%C7%D1%B5%B6%D8

และสิ่งที่เราไม่ควรทำ 10 อย่าง แล้วเราจะพ้นจากการตกนรกหรือเมื่อตายแล้วจะไม่ไปสู่ทุกคภูมิ

[321] อกุศลกรรมบถ 10 (ทางแห่งอกุศลกรรม, ทางทำความชั่ว, กรรมชั่วอันเป็นทางนำไปสู่ความเสื่อม ความทุกข์ หรือทุคคติ)
       ก. กายกรรม 3 (การกระทำทางกาย)
           1. ปาณาติบาต (การทำชีวิตให้ตกล่วง, ปลงชีวิต, การฆ่าสัตว์ต่างๆ)
           2. อทินนาทาน (การถือเอาของที่เขามิได้ให้ โดยอาการขโมย, ลักทรัพย์)
           3. กาเมสุมิจฉาจาร (ความประพฤติผิดในกาม)
       ข. วจีกรรม 4 (การกระทำทางวาจา)
           4. มุสาวาท (การพูดเท็จ)
           5. ปิสุณาวาจา (วาจาส่อเสียด)
           6. ผรุสวาจา (วาจาหยาบ)
           7. สัมผัปปลาปะ (คำพูดเพ้อเจ้อ)
       ค. มโนกรรม 3 (การกระทำทางใจ)
           8. อภิชฌา (เพ่งเล็งอยากได้ของเขา)
           9. พยาบาท (คิดร้ายผู้อื่น)
           10. มิจฉาทิฏฐิ (เห็นผิดจากคลองธรรม เช่น เห็นว่าทำดีได้ชั่ว ทำชั่วได้ดี ไม่เชื่อเรื่องบาป บุญ)

ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่
http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=321

ทำเพียง บุญกิริยาวัตถุ10 และ ไม่ทำอกุศลกรรมบถ 10 เป็นประจำเราก็ได้บุญแล้วครับ

เห็นไหมครับว่าที่นำมาให้ศึกษากันนั้นมีหลายข้อเลยที่เราไม่ต้องใช้เงินทำบุญครับ แต่ถึงยังไงเราก็ควรที่จะทำให้ครบนะครับเพราะผลของบุญแต่ละอย่างส่งผลไม่เหมือนกัน
ดังนั้นเราควรศึกษาให้ถูกต้องตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าและปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามหลักคำสอนนั้น ในเรื่องทำทานนั้นเราก็สามารถทำตามกำลังและความสามารถเราได้ครับเพื่อที่เราจะได้บุญและเราเองก็ไม่ลำบากด้วยครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น