กล่าวนำและทำความเข้าใจ

กล่าวนำและทำความเข้าใจ

Blog นี้จัดทำขึ้นเนื่องจากการที่ตั้งใจศึกษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าและหลักการปฏิบัติตนตามหลักคำสอนอย่างถูกต้อง
เพราะในปัจจุบันคนเราเน้นการทำบุญโดยเอาความสะดวกสบายและง่ายเข้าว่า โดยบ้างครั้งอาจจะผิดหลักคำสอนจนความตั้งใจทำบุญจริงๆนั้นกลายมาเป็นบาป และบ้างครั้งอาจจะหลงผิดใช้เงินกับการทำบุญที่ผิดวิธีจนได้บาปเช่นกัน แต่เราก็สามารถทำบุญอย่างง่ายๆและถูกต้องได้เช่นกัน ดังนั้นเราจึงต้องรู้หลักการปฏิบัติที่ถูกต้องเพื่อที่จะได้บุญจริงๆ

บทความใน Blog นี้จึงขอมุ่งเน้นหยิบยกเนื้อหาอ้างอิงจากพระไตรปิฏกเป็นหลักและบทความจากผู้ที่ศึกษาพระไตรปิฏกอย่างจริงจังที่น่าจะเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน การทำ Blog นี้มีเจตนาเพื่อเป็นอีกหนึ่งทางที่สำหรับผู้คนอาจจะพบเห็นและได้ศึกษาธรรมมากขึ้น

"การศึกษาอะไรที่ยิ่งใหญ่ อาจจะมาจากเรื่องที่เราสงสัยเล็กๆเพียงเรื่องเดียว"

***ทั้งนี้เนื้อหาที่ได้ลงไปใน Blog ผู้อ่านควรใช้วิจารณญาณและศึกษาจากพระไตรปิฏกควบคู่ไปด้วยเพราะอาจมีการคลาดเคลื่อนของเนื้อหา เพื่อผู้อ่านจะได้รับความรู้ที่ตรงและถูกต้องที่สุดครับ***

วันจันทร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2556

โลกแห่งเทคโนโลยีกับธรรมะ


โลกแห่งเทคโนโลยีกับธรรมะ




ตอนนี้พระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าพระสมณโคดม ได้ล่วงมาเป็นเวลา 2600 ปีแล้ว ซึ่งในปัจจุบันนี้ พ.ศ.2556 ก็เป็นยุคที่วิวัฒนาการด้านเทคโนโลยีนั้นก้าวหน้าเป็นอย่างมาก ทั้งด้านการติดต่อสื่อสาร ด้านวัตถุ ด้านระบบต่างๆ ถือว่าได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบโจทย์การใช้ชีวิตในยุคปัจจุบัน
ถ้าเป็นคนยุคใหม่หรือเด็กรุ่นใหม่ๆนั้นก็จะเลือกศึกษาด้านคอมพิวเตอร์กันมากขึ้น ซึ่งดูแล้วมันอาจจะเข้าไม่ได้กับพระพุทธศาสนาที่เกิดมาแล้วตั้ง 2600 ปี ส่วนตัวผมจึงมองว่าโลกที่ล้ำสมัยและเทคโนโลยีที่ก้าวหน้านั้นเป็นดาบ 2 คมกับศาสนาจริงๆ เพราะคนเรานั้นสามารถที่จะผิดศีลหรือทำบาปได้มากขึ้นและเร็วขึ้น และอาจทำโดยไม่รู้ตัวหรือคาดคิดไม่ถึงตามความล้ำหน้าของโลกปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น

เราจะเห็นพวก ฟอร์เวิร์ด เมล ( forward mail ) ที่ส่งมาทาง facebook บ้าง ทาง Mail ต่างๆบ้าง ที่ขอให้ช่วงเด็กที่เป็นโรคบ้างที่เป็นประสบเหตุต่างๆบ้าง ซึ่งโดยทั่วไปแล้วถ้าเราเห็นภาพที่ส่งมาพร้อมกับ Mail นั้นก็จะเกิดความสงสารขึ้นมาทันทีรวมทั้งตัวผมด้วย และสิ่งที่ตามมาด้วยก็คือการให้กดแชร์ Share หรือ กด Like Mail นั้นๆ ซึ่งก็เป็นอะไรที่ไม่ได้ลำบากเลยเพื่อที่จะช่วยเด็กในภาพนั้น
แต่ถ้าหาข้อมูลกันจริงๆแล้ว บ้างเรื่องก็เป็นเรื่องไม่จริงครับ อย่างเช่น กด Like แล้วจะได้เงินบริจาคจากทางเว็บ เป็นต้น (ลองหาข้อมูลเพิ่มเติมกันใน Internet ได้นะครับว่าเรื่องไหนจริงเรื่องไหนไม่จริง) ถ้าเป็นเรื่องไม่จริงอย่างนี้เราอาจจะมีโอกาศผิดศีลข้อมุสาได้นะครับ แต่ก็ต้องประกอบด้วยเหตุอย่างอื่นด้วย เช่น เจตนาที่เราทำว่ามีเจตนาจะโกหกหรือไม่ แต่เราจะเสี่ยงได้บาปไปทำไม่ถ้าหากเรายังไม่รู้จริงไม่ได้ศึกษาหาข้อมูลในเรื่องนั้นๆ และบ้างทีอาจจะทำให้คนที่เป็นต้นคิดทำเรื่องแบบนี้ที่เขามีเจตนาที่ไม่ดีเขาได้สมหวังตามที่เขาต้องการ
อกุศลกรรมบถ ทางแห่งกรรมชั่ว, ทางแห่งกรรมที่เป็นอกุศล,
       กรรมชั่วอันเป็นทางนำไปสู่ทุคติ มี ๑๐ อย่าง คือ

       ก. กายกรรม ๓ ได้แก่
           ๑. ปาณาติบาต การทำลายชีวิต
           ๒. อทินนาทาน ถือเอาของที่เขามิได้ให้
           ๓. กาเมสุมิจฉาจาร ประพฤติผิดในกาม
       ข. วจีกรรม ๔ ได้แก่
           ๔. มุสาวาท พูดเท็จ
           ๕. ปิสุณาวาจา พูดส่อเสียด
           ๖. ผรุสวาจา พูดคำหยาบ
           ๗. สัมผัปปลาปะ พูดเพ้อเจ้อ
       ค. มโนกรรม ๓ ได้แก่
           ๘. อภิชฌา ละโมบคอยจ้องอยากได้ของเขา
           ๙. พยาบาท คิดร้ายเขา
           ๑๐. มิจฉาทิฏฐิ เห็นผิดจากคลองธรรม;
จะเห็นได้ว่าเรื่องเกี่ยวกับการพูดมีถึง 4 ข้อด้วยกัน

ศึกษาเพิ่มเติมจาก
http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%CD%A1%D8%C8%C5%A1%C3%C3%C1%BA%B6_%F1%F0

แต่อย่างไรก็ตามการที่เทคโนโลยีก้าวหน้าก็ช่วยให้เราทำบุญได้มากขึ้นเร็วขึ้น เช่นกัน อย่างเช่น
- การบริจาคเงิน บริจาคสิ่งของ หรือส่ง SMS ช่วยผู้ที่ประสบภัยธรรมชาติต่างๆหรือช่วยบูรณะสถานที่ที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา
- การบริจาคเงินเพื่อรวบร่วมไถ่ชีวิติโค กระบือ หรือบำรุงโรงพยาบาลเป็นค่ายา ค่ารักษา สำหรับสงฆ์หรือบุคคลทั่วไป
- การเผยแผ่พระพุทธศาสนา หลักธรรมคำสอน ที่ถูกต้องในโลก Internet

ซึ่งสิ่งเรานี้เราสามารถทำได้ทุกที่ทุกเวลาในโลกที่เราอยู่ทุกวันนี้ครับ

ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ว่าจะทำสิ่งใดขอให้เราทุกคนศึกษาว่าเรื่องต่างๆนั้น ว่าเป็นจริงหรือถูกต้องด้วยหรือไม่ก่อนที่จะเชื่อและทำ และถ้าเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาควรที่จะศึกษาวิธีการทำบุญที่ถูกต้องเพื่อได้บุญสูงสุดและไม่บาปครับ

[317] กาลามสูตรกังขานิยฐาน 10 (หมายถึง วิธีปฏิบัติในเรื่องที่ควรสงสัย หรือหลักความเชื่อ ที่ตรัสไว้ในกาลามสูตร — how to deal with doubtful matters; advice on how to investigate a doctrine, as contained in the Kalamasutta)
       1. มา อนุสฺสเวน (อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามกันมา — Be not led by report)
       2. มา ปรมฺปราย (อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสืบๆ กันมา — Be not led by tradition)
       3. มา อิติกิราย (อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ — Be not led by hearsay)
       4. มา ปิฎกสมฺปทาเนน (อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์ — Be not led by the authority of texts)
       5. มา ตกฺกเหตุ (อย่าปลงใจเชื่อ เพราะตรรก — Be not led by mere logic)
       6. มา นยเหตุ (อย่าปลงใจเชื่อ เพราะการอนุมาน — Be not led by inference)
       7. มา อาการปริวิตกฺเกน (อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล — Be not led by considering appearances)
       8. มา ทิฏฺฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา (อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว — Be not led by the agreement with a considered and approved theory)
       9. มา ภพฺพรูปตาย (อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้ — Be not led by seeming possibilities)
       10. มา สมโณ โน ครูติ (อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา — Be not led by the idea, ‘This is our teacher’)

       ต่อเมื่อใด รู้เข้าใจด้วยตนว่า ธรรมเหล่านั้น เป็นอกุศล เป็นกุศล มีโทษ ไม่มีโทษ เป็นต้นแล้ว จึงควรละหรือถือปฏิบัติตามนั้น
       สูตรนี้ ในบาลีเรียกว่า เกสปุตติยสูตร ที่ชื่อกาลามสูตร เพราะทรงแสดงแก่ชนเผ่ากาลามะ แห่งวรรณะกษัตริย์ ที่ชื่อเกสปุตติยสูตร เพราะพวกกาลามะนั้นเป็นชาวเกสปุตตนิคม

ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่
http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=317

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

 [๕๐๕] ๖๖. สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในโกศลชนบท
พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จถึงนิคมของพวกกาลามะชื่อว่า เกสปุตตะ
พวกชนกาลามโคตร ชาวเกสปุตตนิคมได้สดับข่าวมาว่า พระสมณโคดมศากยบุตร
ทรงผนวชจากศากยสกุลแล้ว เสด็จมาถึงเกสปุตตนิคมโดยลำดับ ก็กิตติศัพท์อัน
งามของพระสมณโคดมพระองค์นั้นแล ขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ... ทรงเบิกบานแล้ว ทรงจำแนกธรรม
พระองค์ทรงทำโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วย
พระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เองแล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์
เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม พระองค์ทรงแสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้น ไพเราะใน
ท่ามกลาง ไพเราะในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อม
ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง ก็การได้เห็นพระอรหันต์ทั้งหลายเห็นปาน-
*นั้น ย่อมเป็นความดีแล ครั้งนั้น ชนกาลามโคตร ชาวเกสปุตตนิคมได้เข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคจนถึงที่ประทับ บางพวกถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง
ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการ
ปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกประนมมือ
ไปทางพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกประกาศชื่อและ
โคตรแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกนั่งเฉยๆ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
เมื่อต่างก็นั่งลงเรียบร้อยแล้ว จึงได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระเจ้าข้า มีสมณ
พราหมณ์พวกหนึ่งมายังเกสปุตตนิคม สมณพราหมณ์พวกนั้น พูดประกาศ
แต่เฉพาะวาทะของตัวเท่านั้น ส่วนวาทะของผู้อื่นช่วยกันกระทบกระเทียบ ดูหมิ่น
พูดกด ทำให้ไม่น่าเชื่อ พระเจ้าข้า มีสมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่งมายังเกสปุตตนิคม
ถึงพราหมณ์พวกนั้น ก็พูดประกาศแต่เฉพาะวาทะของตนเท่านั้น ส่วนวาทะของ
ผู้อื่นช่วยกันกระทบกระเทียบ ดูหมิ่น พูดกด ทำให้ไม่น่าเชื่อ พระเจ้าข้า พวก
ข้าพระองค์ยังมีความเคลือบแคลงสงสัยในสมณพราหมณ์เหล่านั้นอยู่ทีเดียวว่า ท่าน
สมณพราหมณ์เหล่านั้น ใครพูดจริง ใครพูดเท็จ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกร
กาลามชนทั้งหลาย ก็ควรแล้วที่ท่านทั้งหลายจะเคลือบแคลงสงสัย และท่าน
ทั้งหลายเกิดความเคลือบแคลงสงสัยในฐานะที่ควรแล้ว มาเถิดท่านทั้งหลาย
ท่านทั้งหลายอย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา อย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำ
สืบๆ กันมา อย่าได้ยึดถือโดยตื่นข่าวว่า ได้ยินอย่างนี้ อย่าได้ยึดถือโดยอ้าง
ตำรา อย่าได้ยึดถือโดยเดาเอาเอง อย่าได้ยึดถือโดยคาดคะเน อย่าได้ยึดถือโดย
ความตรึกตามอาการ อย่าได้ยึดถือโดยชอบใจว่าต้องกันกับทิฐิของตัว อย่าได้
ยึดถือโดยเชื่อว่าผู้พูดสมควรจะเชื่อได้ อย่าได้ยึดถือโดยความนับถือว่าสมณะนี้
เป็นครูของเรา เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล
ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ผู้รู้ติเตียน ธรรมเหล่านี้ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว
เป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายควรละธรรม
เหล่านั้นเสีย ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
ความโลภ เมื่อเกิดขึ้นในภายในบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์หรือเพื่อสิ่งไม่เป็น
ประโยชน์ พวกชนกาลามโคตรต่างกราบทูลว่า เพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์
พระเจ้าข้า ฯ

ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_name.php?book=1&bookZ=45&name=%E0%A1%CA%BB%D8%B5%B5%CA%D9%B5%C3

ขอขอบคุณ สามารถศึกษาเพิ่มเพิ่มควบคู่เพื่อให้รู้จริงได้ที่ www.84000.org ซึ่งผู้จัดทำเว็บเขาได้ทำการรวบรวมพระไตรปิฏกไว้ให้ศึกษาครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น