http://www.komchadluek.net/detail/20130730/164586/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C.html#.Ufh259LwnqH
ซึ่งผมไม่ขอพูดเรื่องที่เขาเขียนถึงบุคคลในบทความนั้น แต่มีคำกล่าวเริ่มต้นที่ทำให้ผมคิดติดใจและเขียนบทความนี้ขึ้นมา
บทความบางส่วน
บทเรียนจากการไล่ล่า'พระอรหันต์'
บทเรียนจากการไล่ล่า'พระอรหันต์' : วิปัสสนาบนหน้าข่าว โดยพิสุทธิ์ เกรียงบูรพา เรื่อง พงษ์พัฒน์ ไตรพิพัฒน์ ภาพ
โดยทัศนะส่วนตัว ผมเห็นว่าชาวพุทธเราส่วนใหญ่ ยังคงชอบ 'ไล่ล่าหาพระอรหันต์' กันอยู่ บ้างก็เพื่อกราบไหว้บูชาเป็นสิริมงคล, บ้างก็จะไปขอส่วนสรีระของท่านมาบูชา ไม่ว่าจะเป็นกระดูก ฟัน หรือแม้แต่ 'ขี้' ก็เอา บ้างก็เพื่ออยากได้ บุญ-ทาน ที่หว่านลงบนเนื้อนาบุญอันบริสุทธิ์ เพื่อเปี่ยมอานิสงส์สูงสุด ไม่รู้ไปเชื่อตำราที่ไหนมา ที่ว่า การทำบุญแบบทวีคูณ คูณแฟกเตอร์ ๑๐๐ เท่าไปเรื่อยๆ จาก ทำทานต่อสัตว์เดรัจฉาน ได้บุญน้อยกว่ากับคนทุศีล ๑๐๐ เท่า ทำทานแก่คนทุศีล ได้บุญน้อยกว่าคนมีศีล ๕ ถึง ๑๐๐ เท่า ฯลฯ ทำบุญแด่พระธรรมดาๆ หรืออริยสงฆ์ชั้นต้น ก็ยังได้บุญน้อยกว่า พระอรหันต์ เป็นต้น ไล่ไปเรื่อยๆ ฯลฯ กระทั่งถึง ธรรมทาน การให้ธรรมะเป็นทานสูงสุด
พุทธบริษัทเรา จึงเฝ้าเค้นหาล่าพระอรหันต์มาให้ได้แบบองค์เป็นๆ เพื่อจะได้อานิสงส์แห่งบุญสูงๆ เพราะเป็นขั้นเกือบสูงสุดทีเดียว นี้คือ ความบ้า อย่างหนึ่งผมไม่แน่ใจนักว่า ทฤษฎีทวีคูณ ทีละร้อยๆ แบบนี้ จะถูกต้องหรือไม่ แต่ผมรู้เรื่องที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนมาอย่างหนึ่งนะครับว่า ท่านไม่เคยสอนให้เรา อยากได้ อยากมี อยากเป็น แม้แต่การทำบุญทำทาน ก็เป็นไปเพื่อ สละ ละอัตตา ตัวตน เพื่อความไม่มี ไม่เอา ไม่เป็น ทั้งสิ้น ดังนั้น ใครก็ตามที่คิดไล่ล่าหาพระอรหันต์มาทำบุญ เพื่อตัวกูของกู จะได้มีบุญวัตถุที่สูงๆ ขึ้นไปนั้น ไม่น่าจะถูกต้องตามพระพุทธประสงค์เลย
.
.
.
.
โดยถ้าอ่านโดยรวมของบทความทั้งหมดแล้ว นั้นได้ให้ข้อคิดต่อผู้อ่านมากครับ
(สามารถอ่านบทความเต็มได้จาก
http://www.komchadluek.net/detail/20130730/164586/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C.html#.Ufh259LwnqH)
แต่การเขียนเรื่องศาสนานั้นต้องระวัง ถ้าเกิดเราเขียนผิด แล้วมีผู้เข้าใจผิด แล้วไปปฏิบัติตามผิดๆ เรานั้นได้บาปแน่นอนอย่างที่ทำไฮไลท์สีไว้
"ไม่รู้ไปเชื่อตำราที่ไหนมา ที่ว่า การทำบุญแบบทวีคูณ คูณแฟกเตอร์ ๑๐๐ เท่าไปเรื่อยๆ จาก ทำทานต่อสัตว์เดรัจฉาน ได้บุญน้อยกว่ากับคนทุศีล ๑๐๐ เท่า ทำทานแก่คนทุศีล ได้บุญน้อยกว่าคนมีศีล ๕ ถึง ๑๐๐ เท่า ฯลฯ ทำบุญแด่พระธรรมดาๆ หรืออริยสงฆ์ชั้นต้น ก็ยังได้บุญน้อยกว่า พระอรหันต์ เป็นต้น ไล่ไปเรื่อยๆ ฯลฯ กระทั่งถึง ธรรมทาน การให้ธรรมะเป็นทานสูงสุด"
ซึ่งข้อความนี้ไม่ทราบว่าผู้เขียนได้อ่านจากพระไตรปิฏกหรือไม่ หรือว่าอ่านฉบับไหน ถึงไม่เจอพระสูตรที่อ้างเรื่องนี้
๑๒. ทักษิณาวิภังคสูตร
.
.
.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 394
[๗๑๑] ดูก่อนอานนท์ ใน ๑๔ ประการนั้น บุคคลให้ทานในสัตว์
เดียรัจฉาน พึงหวังผลทักษิณาได้ร้อยเท่า ให้ทานในปุถุชนผู้ทุศีล พึงหวังผล
ทักษิณาได้พันเท่า ให้ทานในปุถุชนผู้มีศีล พึงหวังผลทักษิณาได้แสนเท่า.
ให้ทานในบุคคลภายนอกผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม พึงหวังผลทักษิณาได้
แสนโกฏิเท่า. ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง พึงหวังผล
ทักษิณาจะนับไม่ได้ จะประมาณไม่ได้ จะป่วยกล่าวไปไยในพระโสดาบัน
ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง ในพระสกทาคามี ในท่านผู้ปฏิบัติ
เพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง ในพระอนาคามี ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอรหัตผล
ให้แจ้ง ในสาวกของตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์ ในปัจเจกสัมพุทธะ และใน
ตถาคตอรหันต์ สัมมาสัมพุทธเจ้า.
.
.
**************************************
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 775
๑๐. เวลามสูตร
ว่าด้วยการให้ทานที่มีผลมาก
[๒๒๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
วิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเครษฐี ใกล้ประนคร
สาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มี-
พระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถามท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า ดูก่อน
คฤหบดีในตระกูลของท่าน ยังให้ทานอยู่บ้างหรือหนอ.
ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ในตระกูลของข้าพระองค์ยังให้ทานอยู่ แต่ทานนั้นเป็นของเศร้าหมอง
เป็นปลายข้าว มีน้ำผักดองเป็นที่สอง.
พ. ดูก่อนคฤหบดี บุคคลให้ทานอันเศร้าหมองหรือประณีตก็ตาม
แต่ให้ทานนั้นโดยไม่เคารพ ไม่ทำความนอบน้อมให้ ไม่ให้ด้วยมือ
ตนเอง ให้ของที่เหลือ ไม่เชื่อกรรมและผลของกรรมให้ทาน ทาน
นั้น ๆ ย่อมบังเกิดผลในตระกูลใด ๆ ในตระกูลนั้น ๆ จิตของผู้ให้
ทานย่อมไม่น้อมไปเพื่อบริโภคอาหารอย่างดี ย่อมไม่น้อมไปเพื่อ
บริโภคผ้าอย่างดี ย่อมไม่น้อมไปเพื่อบริโภคยานอย่างดี ย่อมไม่
น้อมไปเพื่อบริโภคกามคุณ ๕ อย่างดี แม้บริวารชนของผู้ให้ทาน
นั้น คือ บุตร ภรรยา ทาส คนใช้ คนทำงาน ก็ไม่เชื่อฟัง ไม่เงี่ยหูฟัง
ส่งจิตไปที่อื่นเสีย ข้อนั้นเพราะเหตุไร ทั้งนี้เป็นเพราะผลแห่งกรรม
ที่ตนกระทำโดยไม่เคารพ.
ดูก่อนคฤหบดี บุคคลให้ทานอันเศร้าหมองหรือประณีตก็ตาม
แต่ให้ทานนั้นโดยเคารพ ทำความนอบน้อมให้ ให้ด้วยมือตนเอง
ให้ของที่ไม่เหลือ เชื่อกรรมและผลของกรรมให้ทาน ทานนั้น ๆ
บังเกิดผลในตระกูลใด ๆ ในตระกูลนั้น ๆ จิตของให้ทานย่อม
น้อมไปเพื่อบริโภคอาหารอย่างดี ย่อมน้อมไปเพื่อบริโภคผ้าอย่างดี
ย่อมน้อมไปเพื่อบริโภคยานอย่างดี ย่อมน้อมไปเพื่อบริโภคกามคุณ
๕ อย่างดี แม้บริวารชนของผู้ให้ทานนั้น คือ บุตร ภรรยา ทาส
คนใช้ คนทำงาน ก็เชื่อฟังดี เงี่ยหูฟัง ไม่ส่งจิตไปที่อื่น ข้อนั้น
เพราะเหตุไร ทั้งนี้เป็นเพราะผลของกรรมที่ตนกระทำโดยเคารพ.
ดูก่อนคฤหบดี เรื่องเคยมีมาแล้ว มีพราหมณ์ชื่อเวลามะ
พราหมณ์ผู้นั้นได้ให้ทานเป็นมหาทานอย่างนี้ คือ ได้ให้ถาดทอง
เต็มด้วยรูปิยะ ๘๔,๐๐๐ ถาด ถาดรูปิยเต็มด้วยทอง ๘๔,๐๐๐ ถาด
ถาดสำริดเต็มด้วยเงิน ๘๔,๐๐๐ ถาด ให้ช้าง ๘๔,๐๐๐๐ เชือก
มีเครื่องประดับล้วนเป็นทอง มีธงทอง คลุมด้วยข่ายทอง ให้รถ
๘๔,๐๐๐ คัน หุ้มด้วยหนังราชสีห์ หนังเสือโคร่ง หนังเสือเหลือง
ผ้ากัมพลเหลือง มีเครื่องประดับล้วนเป็นทอง มีธงทอง คุมด้วย
ข่ายทอง ให้แม่โคนม ๘๔,๐๐๐ ตัว มีน้ำนมไหลสะดวก ใช้ภาชนะเงิน
รองน้ำนม ให้หญิงสาว ๘๔,๐๐๐ คน ประดับด้วยแก้วมณีและ
แก้วกุณฑล ให้บัลลังก์ ๘๔,๐๐๐ ที่ ลาดด้วยผ้าโกเชาว์ ลาดด้วย
ขนแกะสีขาว เครื่องลาดมีสัณฐานเป็นช่อดอกไม้ มีเครื่องลาด
อย่างดีทำด้วยหนังชมด มีเครื่องลาดเพดาน มีหมอนข้างแดงทั้งสอง
ให้ผ้า ๘๔,๐๐๐ โกฏิ เป็นผ้าเปลือกไม้ ผ้าแพร ผ้าฝ้าย เนื้อละเอียด
จะป่วยกล่าวไปไยถึงข้าว น้ำ ของเคี้ยว ของบริโภค เครื่องลูบไล้
ที่นอน ไหลไปเหมือนแม่น้ำ ดูก่อนคฤหบดี ก็ท่านพึงมีความคิด
อย่างนี้ว่า สมัยนั้น ผู้อื่นไม่ใช่เวลามพราหมณ์ที่ให้ทานเป็น
มหาทานนั้น ดูก่อนคฤหบดี แต่ท่านไม่ควรเห็นอย่างดี สมัยนั้น
เราเป็นเวลาพราหมณ์ เราไปให้ทานนั้นเป็นมหาทาน ก็ในทาน
นั้น ไม่มีใครเป็นพระทักขิเณยยบุคคล ใคร ๆ ไม่ชำระทักขิณานั้น
ให้หมดจด ก่อนคฤหบดี ทานที่บุคคลเชื้อเชิญท่านผู้ถึงพร้อมด้วย
ทิฏฐิผู้เดียวบริโภค มีผลมากกว่าทานที่เวลาพราหมณ์ให้แล้ว
ทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิร้อยท่านบริโภค มี
ผลมากกว่าทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิร้อยท่าน
บริโภค มีผลมากกว่าทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้ท่านผู้ถึงพร้อมด้วย
ทิฏฐิผู้เดียวบริโภค ทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้พระสกทาคามีเดียว
บริโภค มีผลมากกว่าทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้ท่านผู้ถึงพร้อมด้วย
ทิฏฐิร้อยท่านบริโภค ทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้พระสกทาคามีร้อยท่าน
บริโภค มีผลมากกว่าทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้พระสกทาคามีเดียว
บริโภค ทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้พระอนาคามีผู้เดียวบริโภค มีผล
มากกว่าทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้พระสกทาคามีร้อยท่านบริโภค
ทานที่บุคคลเชื้อเชิญพระอนาคามีร้อยท่านบริโภค มีผลมากกว่า
ทานที่บุคคลเชื้อเชิญพระอนาคามีเดียวบริโภค ทานที่บุคคลถวาย
ให้พระอรหันต์ผู้เดียวบริโภค มีผลมากกว่าทานที่บุคคลเชื้อเชิญ
ให้พระอนาคามีร้อยท่านบริโภค ทานที่บุคคลถวายให้พระอรหันต์
ร้อยท่านบริโภค มีผลมากกว่าทานที่บุคคลถวายให้พระอรหันต์
ผู้เดียวบริโภค ทานที่บุคคลถวายให้พระปัจเจกพุทธิเจ้ารูปเดียว
บริโภค ผลมากกว่าทานที่บุคคลถวายให้พระอรหันต์ร้อยรูป
บริโภค ทานที่บุคคลถวายให้พระปัจเจกพุทธเจ้าร้อยรูปบริโภค
มีผลมากกว่าทานที่บุคคลถวายให้พระปัจเจกพุทธเจ้ารูปเดียว
บริโภค ทานที่บุคคลถวายให้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าบริโภค
มีผลมากกว่าทานที่บุคคลถวายให้พระปัจเจกพุทธเจ้าร้อยรูป
บริโภค ทานที่บุคคลถวายให้ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข
บริโภค มีผลมากกว่าทานที่บุคคลถวายให้พระอรหันตสัมมาสัม-
พุทธเจ้าบริโภค การที่บุคคลสร้างวิหารถวายสงฆ์ผู้มาจากจาตุรทิศ
มีผลมากกว่าทานที่บุคคลถวายให้ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็น
ประมุขบริโภค การที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม
และพระสงฆ์เป็นสรณะ มีผลมากกว่าทานที่บุคคลสร้างวิหาร
ถวายสงฆ์อันมาจากจาตุรทิศ การที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสสมาทาน
สิกขาบท คือ งดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ จากการดื่มน้ำเมาคือ
สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท มีผลมากกว่าการที่
บุคคลมีจิตเลื่อมใสถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์เป็น
สรณะ การที่บุคคลเจริญเมตตาจิตโดย ที่สุดแม้เพียงเวลาสูดดม
ของหอม มีผลมากกว่าการที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสสมาทานสิกขาบท
คือ งดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ ดูก่อนคฤหบดี ทานที่บุคคลเชื้อเชิญ
ให้ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิผู้เดียวบริโภค มีผลมากกว่ามหาทานที่
เวลามพราหมณ์ให้แล้ว ... การที่บุคคลเจริญเมตตาจิตโดยที่สุด
แม้เพียงเวลาสูดดมของหอม มีผลมากกว่าการที่บุคคลมีจิตเลื่อมใส
สมาทานสิกขาบท คือ งดเว้นจากปาณาติบาต... และการที่บุคคล
เจริญอนิจจสัญญาแม้เพียงเวลาลัดนิ้วมือ มีผลมากกว่าการที่บุคคล
เจริญเมตตาจิตโดยที่สุด แม้เพียงเวลาสูดดมของหอม.
จบ เวลามสูตรที่๑๐
**************************************
ในปัจจุบันผมคิดว่ามีเรื่องกิเลศเข้ามาเยอะมากจนคนคิดว่าเรื่องนิพพานเป็นเรื่องที่ไกลตัวเกินไป จึงแสวงหาแต่เงินทองเพื่อมาใช้ให้ชีวิตสบายก็พอ
ในการที่เราอ่านหรือศึกษาอะไร หรือฟังใครมาก็อย่าเพิ่งเชื่ออะไรง่ายๆ ควรหาคำตอบที่ถูกต้องก่อน อย่างเช่น ผู้ที่เข้ามาอ่านใน Blog นี้ อย่าเพิ่งเชื่อข้อความในนี้จนกว่าจะได้ศึกษาจากพระไตรปิฏกจริงๆก่อนครับ
ขอฝากข้อคิดครับว่า
สมมุติว่าเราอยากทำเบเกอรี่สักอย่างแต่เราไม่มีความรู้เลย สิ่งที่เราควรทำเพื่อให้ได้เบเกอรี่ก็คือ
1.ไปเรียนจากผู้ที่รู้ คือครูผู้สอนต่างๆ หรือหาหนังสืออ่าน
2.แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าครูสอนถูกต้อง เราก็ต้องไปเปิดดูตำราว่าสูตรและวิธีทำถูกต้องหรือไม่ เช่น ครูสอนว่า ส่วนผสมของแป้ง 200 กรัม ก็ต้องไปดูว่า ในตำรา 200 กรัม จริงหรือไม่
3.แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าในตำราถูกต้อง เราก็ต้องรู้ว่าตำรานั้นใครเป็นคนเขียน น่าเชื่อถือมาแค่ไหน เขาทำตามสูตรในนั้นแล้วประสบผลสำเร็จหรือเปล่า
เช่นกันครับ กับเรื่องธรรม
1.เราอยากศีกษาธรรม เราก็อาจจะไปวัด หรือครูบาอาจารย์ผู้สอน หรือหาหนังสือมาอ่าน
2.เราจะรู้ด้อย่างไรว่าถูกต้อง เราก็ต้องไปศึกษาพระไตรปิฏก ซึ่งเป็นตำราที่ตรงตามพระพุทธศาสนาที่สุด เหมือคัมภีร์ไบเบิล หรือ คัมภีร์อัลกุรอาน ของศาสนาอื่น
3.แล้วรู้ได้งว่าตำราถูกต้อง ถ้าท่านเป็นชาวพุทธและได้ศึกษาขนาดนั้นแล้ว ท่านจะเชื่อพระพุทธเจ้าผู้ที่เป็นศาสดา หรือพระอรหันต์ผู้สังคายณาพระไตรปิฏก หรือพระทุศีลที่อยู่เต็มบ้านเต็มเมือง หรือนักวิชาการต่างที่อ่านและอาจจะแทรกความคิดของตนลงไป
ขอฝากให้คิดกันนะครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น