ช่วงนี้เป็นช่วงเข้าพรรษาเห็นเด็กแต่งชุดขาวเข้าวัดตามที่โรงเรียนจัดกิจกรรมมากมายรวมทั้งหลานของผมด้วย
แต่พอได้ศึกษาพระธรรมและการทำผิดต่างๆนาๆ เลยนึกถึงสมัยเรียนที่โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยนั้นพาไปทำบุญ ไหว้พระ 7 วัด 9 วัด ทัศนศึกษาธรรมต่างๆ คณะแสวงบุญตะเวนทำบุญตามที่ต่างๆ โดยหารู้ไหมว่าจากที่เด็กคิดว่าจะได้บุญ แต่อาจจะได้บาปกันถ้วนหน้า ถ้าผู้ใหญ่ที่จัดนั้นพาทำไม่ถูกต้องครับ
ยิ่งมีข่าวว่ารถประจำทางประสบอุบัติเหตจากการที่กลับบ้านไปทำบุญช่วงวันหยุดยาวอาสาฬหบูชา และ เข้าพรรษาด้วยแล้วยิ่งสลดใจมากครับ ขอแสดงความเสียใจกับญาติผู้เสียชีวิตด้วยครับ
จึงน่าคิดหรือไม่ครับว่าทำไมทำบุญแล้วกับต้องมาเสียชีวิตอย่างทุกข์ ทรมานอย่างนั้น ผลบุญที่ทำไม่ได้ช่วยบ้างเลยหรือ ?
เราทำบุญผิดหรือทำถูกต้อง ?
ถ้าเราทำบุญถูกต้องจริงทำไมต้องมาเจอเรื่องราวอย่างนี้ด้วย ?
ฝากให้คิดกันครับ แต่ถ้าผู้ใดหาคำตอบไม่ได้ลองศึกษาพระไตรปิฏกดูครับมีคำตอบให้ในทุกๆเรื่องครับ
โดยส่วนตัวผมคิดว่าไหว้พระหรือทำบุญแบบผิดๆ 1 วัด ก็แย่แล้ว แต่นี้ 9 วัด จะแย่ขนาดไหน แล้วชีวิตเราจะดีขึ้นไหม
ส่วนเรื่องทอดกฐินไม่ต้องพูดถึงเลยครับ เพราะในปัจจุบันทำกฐินผิดไปจากหลักธรรมอย่างมากครับ โดยนำเงินไปถวายเลย โดยไม่ดูเลยว่าพระรับเงินไม่ได้ พระรับมาเพื่อ.......ไม่ได้ พระรับมาเพื่อสร้าง.......ไม่ได้ ครับ
แต่ถ้าเราทำถูก ทำบุญถูก 1 วัดได้บุญขนาดไหน และถ้าถูก 9 วัดหละ จะเป็นบุญมากขนาดไหนครับ
ลองคิดดูว่าเราไปทัศนศึกษาไหว้พระ 9 วัดกันเพื่ออะไร
1.พักผ่อน
2.ไปดูวัดที่สวยงาม (ติดรูป ตายไปตกนรกหรือกำเนิดสัตว์เดียรฉาน)
3.ไปทำบุญที่วัด (ทำแบบผิดๆ ให้เงิน ให้ทองพระ บาป)
4.ไปไหว้พระเพื่อเป็นศิริมงคล (ติดรูป ตายไปตกนรกหรือกำเนิดสัตว์เดียรฉาน และไม่ได้ศิริมงคลด้วย)
5.เพื่อให้รู้ว่าเราเป็นเมืองพุทธ
ติดรูป ตายไปตกนรกนรกหรือกำเนิดสัตว์เดียรฉาน
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 357
๘. อาทิตตปริยายสูตร
ว่าด้วยอาทิตตปริยายและธรรมปริยาย
[๓๐๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอาทิตตปริยายและธรรม
ปริยายแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาทิตต-
ปริยายและธรรมปริยายเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลแทงจัก-
ขุนทรีย์ด้วยหลาวเหล็กอันร้อนไฟติดลุกโพลงแล้ว ยังดีกว่า การถือนิมิต
โดยอนุพยัญชนะในรูป อันจักขุวิญญาณพึงรู้แจ้ง จะดีอะไร วิญญาณ
อันตะกรามด้วยความยินดีในนิมิต หรือตะกรามด้วยความยินดีในอนุ-
พยัญชนะ เมื่อตั้งอยู่ก็พึงตั้งอยู่ได้ ถ้าบุคคลพึงทำกาลกิริยาเสียในสมัยนั้น
ไซร้ ข้อที่บุคคลจะพึงเข้าถึงคติ ๒ อย่าง คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์
เดียรฉานอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราเห็นโทษอันนี้ จึงกล่าวอย่างนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเกี่ยวโสตินทรีย์ด้วยขอเหล็กอันคม
ไฟติดลุกโพลงแล้ว ยังดีกว่า การถือนิมิตโดยอนุพยัญชนะในเสียงอัน
โสตวิญญาณพึงรู้แจ้ง จะดีอะไร วิญญาณนิมิตโดยอนุพยัญชนะในเสียงอัน
นิมิตหรือตะกรามด้วยความยินดีในอนุพยัญชนะเมื่อตั้งอยู่ก็พึงตั้งอยู่ได้
ถ้าบุคคลพึงทำกาลกิริยาเสียในสมัยนั้นไซร้ ข้อที่บุคคลจะพึงเข้าถึงคติ
๒ อย่าง คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์เดียรฉานอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็เป็นฐานะ
จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเห็นโทษอันนี้ จึงได้กล่าวอย่างนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลคว้านฆานินทรีย์ด้วยมีดตัดเล็บอันคม
ไฟติดลุกโพลงแล้ว ยังดีกว่า การถือนิมิตโดยอนุพยัญชนะในกลิ่นอัน
ฆานวิญญาณพึงรู้แจ้ง จะดีอะไร วิญญาณอันตะกรามด้วยความยินดีใน
นิมิต หรือตะกรามด้วยความยินดีในอนุพยัญชนะเมื่อตั้งอยู่ก็พึงตั้งอยู่ได้
ถ้าบุคคลพึงทำกาลกิริยาเสียในสมัยนั้นไซร้ ข้อที่บุคคลจะพึงเข้าถึงคติ
๒ อย่าง คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์เดียรฉานอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็เป็นฐานะ
ที่จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเราเห็นโทษอันนี้ จึงได้กล่าวอย่างนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเฉือนชิวหินทรีย์ด้วยมีดโกนอันคม
ไฟติดลุกโพลงแล้ว ยังดีกว่า การถือนิมิตโดยอนุพยัญชนะในรส อันชิวหา
วิญญาณพึงรู้แจ้ง จะดีอะไร วิญญาณอันตะกรามด้วยความยินดีในนิมิต
หรือตะกรามด้วยความยินดีในอนุพยัญชนะเมื่อตั้งอยู่ก็พึงตั้งอยู่ได้ ถ้าบุคคล
พึงทำกาลกิริยาเสียในสมัยนั้นไซร้ ข้อที่บุคคลจะพึงเข้าถึงคติ ๒ อย่าง คือ
นรกหรือกำเนิดสัตว์เดียรฉานอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็เป็นฐานะที่จะมีได้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเห็นโทษอันนี้ จึงได้กล่าวอย่างนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลแทงกาอินทรีย์ด้วยหอกอันคม ไฟติด
ลุกโพลงแล้ว ยังดีกว่า การถือนิมิตโดยอนุพยัญชนะในโผฏฐัพพะ อัน-
กายวิญญาณพึงรู้แจ้ง จะดีอะไร วิญญาณอันตะกรามด้วยความยินดีในนิมิต
หรือตะกรามด้วยความยินดีในอนุพยัญชนะเมื่อตั้งอยู่ก็พึงตั้งอยู่ได้ ถ้าบุคคล
ทำกาลกิริยาในสมัยนั้นไซร้ ข้อที่บุคคลจะพึงเข้าถึงคติ ๒ อย่าง คือ นรก
หรือกำเนิดสัตว์เดียรฉานอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ขึ้นฐานะที่จะมีได้ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เราเห็นโทษอันนี้ จึงได้กล่าวอย่างนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความหลับยังดีกว่า แต่เรากล่าวความหลับว่า
เป็นหมันไร้ผล เป็นความงมงาย ของคนที่เป็นอยู่ ตนลุอำนาจของวิตก
เช่นใดแล้ว พึงทำลายหมู่ให้แตกกันได้ ก็ไม่ควรตรึกถึงวิตกเช่นนั้นเลย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเห็นความเป็นหมันอันนี้แลว่าเป็นอาทีนพของคน
ที่เป็นอยู่ จึงกล่าวอย่างนี้.
[๓๐๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว
ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า จักขุนทรีย์ที่บุคคลแทงด้วยหลาวเหล็กอันร้อน
ไฟติดลุกโพลงแล้ว จงพักไว้ก่อน ผิฉะนั้น เราจะทำไว้ในใจอย่างนี้ว่า
จักษุไม่เที่ยง รูปไม่เที่ยง จักษุวิญญาณไม่เที่ยง จักษุสัมผัสไม่เที่ยง แม้
สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัส
เป็นปัจจัยไม่เที่ยง โสตินทรีย์ที่บุคคลเกี่ยวด้วยขอเหล็กอันคม ไฟติดลุก
โพลงแล้ว จงพักไว้ก่อน ผิฉะนั้น เราจะทำไว้ในใจอย่างนี้ว่า โสตไม่เที่ยง
สัททะเสียงไม่เที่ยง โสตวิญญาณไม่เที่ยง โสตสัมผัสไม่เที่ยง แม้สุขเวทนา
ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย
ไม่เที่ยง ฆานินทรีย์ที่บุคคลคว้านด้วยมีดตัดเล็บอันคม ไฟติดลุกโพลงแล้ว
จงพักไว้ก่อน ผิฉะนั้น เราจะทำไว้ในใจอย่างนี้ว่า ฆานะจมูกไม่เที่ยง
คันธะกลิ่นไม่เที่ยง ฆานวิญญาณไม่เที่ยง ฆานสัมผัสไม่เที่ยง แม้สุขเวทนา
เวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัยก็
ไม่เที่ยง ชิวหินทรีย์ที่บุคคลเฉือนด้วยมีดโกนอันคม ไฟติดลุกโพลงแล้ว
จงพักไว้ก่อน ผิฉะนั้น เราจะทำไว้ในใจอย่างนี้ว่า ชิวหาลิ้นไม่เที่ยง
รสไม่เที่ยง ชิวหาวิญญาณไม่เที่ยง ชิวหาสัมผัสไม่เที่ยง แม้สุขเวทนา
ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย
ก็ไม่เที่ยง กายินทรีย์ที่บุคคลแทงด้วยหอกอันคม ไฟติดลุกโพลงแล้ว
จงพักไว้ก่อน ผิฉะนั้น เราจะทำไว้ในใจอย่างนี้ว่า กายไม่เที่ยง โผฏฐัพพะ
ไม่เที่ยง กายวิญญาณไม่เที่ยง กายสัมผัสไม่เที่ยง แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา
หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยง ความ
หลับจงพักไว้ก่อน ผิฉะนั้น เราจะทำไว้ในใจอย่างนี้ว่า มนะใจไม่เที่ยง
ธรรมารมณ์ไม่เที่ยง มโนวิญญาณไม่เที่ยง มโนสัมผัสไม่เที่ยง สุขเวทนา
ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย
ไม่เที่ยง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ แม้ในรูป แม้ในจักษุวิญญาณ แม้ในจักษุสัมผัส
แม้ในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะ
จักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในใจ แม้ในธรรมารมณ์
แม้ในมโนวิญญาณ แม้ในมโนสัมผัส แม้ในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ
อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมือเบื่อหน่าย
ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว
ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่
จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลเรียกว่าอาทิตตปริยาย และธรรมปริยายฉะนี้แล
จบ อาทิตตปริยายสูตรที่ ๘
********************************************
พวกเรานั้นไม่ได้ไปวัดเพื่อศึกษาหลักคำสอนจริงๆกันบ้างเลย แล้วอย่างนี้เด็กๆจะได้บุญหรือบาปมากกว่ากันครับ
อยากฝากไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องครับ ว่าการจัดทัศนศึกษานั้นดีครับ แต่ควรจัดให้ถูก เราควรจะศึกษาวิธีให้ถูกก่อนแล้วจัดครับ เพราะไม่ใช้แค่คุณคนเดี่ยวที่ได้บาปไปแต่ยังรวมถึงเด็กๆที่ได้บาปไปด้วยครับ
แต่กลับกันนั้นคุณจัดถูกต้อง ไปทำบุญ ปฏิบัติถูกต้อง และชวนคนไปมากๆนั้น คุณก็จะได้บุญมากไปด้วยเช่นกันครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น