http://www.komchadluek.net/detail/20130730/164586/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C.html#.Ufh259LwnqH
ซึ่งผมไม่ขอพูดเรื่องที่เขาเขียนถึงบุคคลในบทความนั้น แต่มีคำกล่าวเริ่มต้นที่ทำให้ผมคิดติดใจและเขียนบทความนี้ขึ้นมา
บทความบางส่วน
บทเรียนจากการไล่ล่า'พระอรหันต์'
บทเรียนจากการไล่ล่า'พระอรหันต์' : วิปัสสนาบนหน้าข่าว โดยพิสุทธิ์ เกรียงบูรพา เรื่อง พงษ์พัฒน์ ไตรพิพัฒน์ ภาพ
โดยทัศนะส่วนตัว ผมเห็นว่าชาวพุทธเราส่วนใหญ่ ยังคงชอบ 'ไล่ล่าหาพระอรหันต์' กันอยู่ บ้างก็เพื่อกราบไหว้บูชาเป็นสิริมงคล, บ้างก็จะไปขอส่วนสรีระของท่านมาบูชา ไม่ว่าจะเป็นกระดูก ฟัน หรือแม้แต่ 'ขี้' ก็เอา บ้างก็เพื่ออยากได้ บุญ-ทาน ที่หว่านลงบนเนื้อนาบุญอันบริสุทธิ์ เพื่อเปี่ยมอานิสงส์สูงสุด ไม่รู้ไปเชื่อตำราที่ไหนมา ที่ว่า การทำบุญแบบทวีคูณ คูณแฟกเตอร์ ๑๐๐ เท่าไปเรื่อยๆ จาก ทำทานต่อสัตว์เดรัจฉาน ได้บุญน้อยกว่ากับคนทุศีล ๑๐๐ เท่า ทำทานแก่คนทุศีล ได้บุญน้อยกว่าคนมีศีล ๕ ถึง ๑๐๐ เท่า ฯลฯ ทำบุญแด่พระธรรมดาๆ หรืออริยสงฆ์ชั้นต้น ก็ยังได้บุญน้อยกว่า พระอรหันต์ เป็นต้น ไล่ไปเรื่อยๆ ฯลฯ กระทั่งถึง ธรรมทาน การให้ธรรมะเป็นทานสูงสุด
พุทธบริษัทเรา จึงเฝ้าเค้นหาล่าพระอรหันต์มาให้ได้แบบองค์เป็นๆ เพื่อจะได้อานิสงส์แห่งบุญสูงๆ เพราะเป็นขั้นเกือบสูงสุดทีเดียว นี้คือ ความบ้า อย่างหนึ่งผมไม่แน่ใจนักว่า ทฤษฎีทวีคูณ ทีละร้อยๆ แบบนี้ จะถูกต้องหรือไม่ แต่ผมรู้เรื่องที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนมาอย่างหนึ่งนะครับว่า ท่านไม่เคยสอนให้เรา อยากได้ อยากมี อยากเป็น แม้แต่การทำบุญทำทาน ก็เป็นไปเพื่อ สละ ละอัตตา ตัวตน เพื่อความไม่มี ไม่เอา ไม่เป็น ทั้งสิ้น ดังนั้น ใครก็ตามที่คิดไล่ล่าหาพระอรหันต์มาทำบุญ เพื่อตัวกูของกู จะได้มีบุญวัตถุที่สูงๆ ขึ้นไปนั้น ไม่น่าจะถูกต้องตามพระพุทธประสงค์เลย
.
.
.
.
โดยถ้าอ่านโดยรวมของบทความทั้งหมดแล้ว นั้นได้ให้ข้อคิดต่อผู้อ่านมากครับ
(สามารถอ่านบทความเต็มได้จาก
http://www.komchadluek.net/detail/20130730/164586/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C.html#.Ufh259LwnqH)
แต่การเขียนเรื่องศาสนานั้นต้องระวัง ถ้าเกิดเราเขียนผิด แล้วมีผู้เข้าใจผิด แล้วไปปฏิบัติตามผิดๆ เรานั้นได้บาปแน่นอนอย่างที่ทำไฮไลท์สีไว้
"ไม่รู้ไปเชื่อตำราที่ไหนมา ที่ว่า การทำบุญแบบทวีคูณ คูณแฟกเตอร์ ๑๐๐ เท่าไปเรื่อยๆ จาก ทำทานต่อสัตว์เดรัจฉาน ได้บุญน้อยกว่ากับคนทุศีล ๑๐๐ เท่า ทำทานแก่คนทุศีล ได้บุญน้อยกว่าคนมีศีล ๕ ถึง ๑๐๐ เท่า ฯลฯ ทำบุญแด่พระธรรมดาๆ หรืออริยสงฆ์ชั้นต้น ก็ยังได้บุญน้อยกว่า พระอรหันต์ เป็นต้น ไล่ไปเรื่อยๆ ฯลฯ กระทั่งถึง ธรรมทาน การให้ธรรมะเป็นทานสูงสุด"
ซึ่งข้อความนี้ไม่ทราบว่าผู้เขียนได้อ่านจากพระไตรปิฏกหรือไม่ หรือว่าอ่านฉบับไหน ถึงไม่เจอพระสูตรที่อ้างเรื่องนี้
๑๒. ทักษิณาวิภังคสูตร
.
.
.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 394
[๗๑๑] ดูก่อนอานนท์ ใน ๑๔ ประการนั้น บุคคลให้ทานในสัตว์
เดียรัจฉาน พึงหวังผลทักษิณาได้ร้อยเท่า ให้ทานในปุถุชนผู้ทุศีล พึงหวังผล
ทักษิณาได้พันเท่า ให้ทานในปุถุชนผู้มีศีล พึงหวังผลทักษิณาได้แสนเท่า.
ให้ทานในบุคคลภายนอกผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม พึงหวังผลทักษิณาได้
แสนโกฏิเท่า. ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง พึงหวังผล
ทักษิณาจะนับไม่ได้ จะประมาณไม่ได้ จะป่วยกล่าวไปไยในพระโสดาบัน
ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง ในพระสกทาคามี ในท่านผู้ปฏิบัติ
เพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง ในพระอนาคามี ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอรหัตผล
ให้แจ้ง ในสาวกของตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์ ในปัจเจกสัมพุทธะ และใน
ตถาคตอรหันต์ สัมมาสัมพุทธเจ้า.
.
.
**************************************
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 775
๑๐. เวลามสูตร
ว่าด้วยการให้ทานที่มีผลมาก
[๒๒๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
วิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเครษฐี ใกล้ประนคร
สาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มี-