กล่าวนำและทำความเข้าใจ

กล่าวนำและทำความเข้าใจ

Blog นี้จัดทำขึ้นเนื่องจากการที่ตั้งใจศึกษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าและหลักการปฏิบัติตนตามหลักคำสอนอย่างถูกต้อง
เพราะในปัจจุบันคนเราเน้นการทำบุญโดยเอาความสะดวกสบายและง่ายเข้าว่า โดยบ้างครั้งอาจจะผิดหลักคำสอนจนความตั้งใจทำบุญจริงๆนั้นกลายมาเป็นบาป และบ้างครั้งอาจจะหลงผิดใช้เงินกับการทำบุญที่ผิดวิธีจนได้บาปเช่นกัน แต่เราก็สามารถทำบุญอย่างง่ายๆและถูกต้องได้เช่นกัน ดังนั้นเราจึงต้องรู้หลักการปฏิบัติที่ถูกต้องเพื่อที่จะได้บุญจริงๆ

บทความใน Blog นี้จึงขอมุ่งเน้นหยิบยกเนื้อหาอ้างอิงจากพระไตรปิฏกเป็นหลักและบทความจากผู้ที่ศึกษาพระไตรปิฏกอย่างจริงจังที่น่าจะเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน การทำ Blog นี้มีเจตนาเพื่อเป็นอีกหนึ่งทางที่สำหรับผู้คนอาจจะพบเห็นและได้ศึกษาธรรมมากขึ้น

"การศึกษาอะไรที่ยิ่งใหญ่ อาจจะมาจากเรื่องที่เราสงสัยเล็กๆเพียงเรื่องเดียว"

***ทั้งนี้เนื้อหาที่ได้ลงไปใน Blog ผู้อ่านควรใช้วิจารณญาณและศึกษาจากพระไตรปิฏกควบคู่ไปด้วยเพราะอาจมีการคลาดเคลื่อนของเนื้อหา เพื่อผู้อ่านจะได้รับความรู้ที่ตรงและถูกต้องที่สุดครับ***

วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2558

ความเข้าใจผิดของชาวพุทธ

ความเข้าใจผิดของชาวพุทธ


ชาวพุทธเรามีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับศาสนาพุทธอยู่หลายอย่างด้วยกัน

1.ชาวพุทธมีความคิดว่าพระพุทธเจ้าเรามีพระองค์เดียว คือ ไม่ทราบว่ามีพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นมาแล้วนับไม่ถ้วน อย่างพระพุทธเจ้าเราพระองค์นี้พระสมณโคดม พบเจอผู้ที่ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้ามาแล้ว 23 พระองค์ นับเฉพาะที่ท่านบำเพ็ญบารมีและถูกทำนายว่าจะเป็นพระพุทธเจ้าในวันข้างหน้า หรือถ้าผู้ใดที่ตั้งความปราถณาที่จะเป็นผู้ที่จะตรัสรู้ในอนาคตก็สามารถเป็นได้แต่ระยะเวลาในการบำเพ็ญบารมีก็จะยาวนานต่างกันออกไป

พระศาสดาได้รับพยากรณ์จากพระพุทธเจ้า  ๒๓  พระองค์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 116

๘. เรื่องสญชัย  [๘]

ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน    ทรงปรารภความไม่มา
ของสญชัย      (ปริพาชก )     ซึ่งสองพระอัครสาวกกราบทูลแล้ว     ตรัส
พระธรรมเทศนานี้ว่า  "อสาเร   สารมติโน"  เป็นต้น.  อนุปุพพีกถา
ในเรื่องสญชัยนั้น  ดังต่อไปนี้:-

พระศาสดาได้รับพยากรณ์จากพระพุทธเจ้า  ๒๓  พระองค์

ความพิสดารว่า    ในที่สุด   ๔   อสงไขย     ยิ่งด้วยแสนกัลป์แต่กัลป์
นี้ไป  พระศาสดาของเราทั้งหลาย  เป็นกุมารของพราหมณ์นามว่าสุเมธะ
ในอมรวดีนคร    ถึงความสำเร็จศิลปะทุกอย่างแล้ว     โดยกาลล่วงไปแห่ง
มารดาและบิดา    ทรงบริจาคทรัพย์นับได้หลายโกฏิ     บวชเป็นฤษีอยู่ใน
หิมวันตประเทศ    ทำฌานและอภิญญาให้เกิดแล้ว   ไปโดยอากาศเห็นคน
ถางทางอยู่เพื่อประโยชน์เสด็จ   (ออก)   จากสุทัศนวิหาร   เข้าไปสู่อมร-
วดีนคร      แห่งพระทศพลทรงพระนามว่าทีปังกร      แม้ตนเองก็ถือเอา
ประเทศแห่งหนึ่ง,    เมื่อประเทศนั้น    ยังไม่ทันเสร็จ,    นอนทอดตนให้
เป็นสะพาน  ลาดหนังเสือเหลืองบนเปือกตม  เพื่อพระศาสดาผู้เสด็จมาแล้ว
ด้วยประสงค์ว่า      "ขอพระศาสดาพร้อมด้วยพระสงฆ์สาวก    ไม่ต้องทรง
เหยียบเปือกตม    จงทรงเหยียบเราเสด็จไปเถิด"    แต่พอพระศาสดาทอด
พระเนตรเห็น  ก็ทรงพยากรณ์ว่า   "ผู้นี้เป็นพุทธังกูร๑   จักเป็นพระพุทธ-
๑.  หน่อเนื้อ,   เชื้อสาย  แห่งพระพุทธเจ้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 117

เจ้าทรงพระนามว่าโคดม      ในที่สุด  ๔  อสงไขย     ยิ่งด้วยแสนกัลป์ใน
อนาคต,"    ในสมัยต่อมาแห่งพระศาสดาพระองค์นั้น    ก็ได้รับพยากรณ์
ในสำนักพระพุทธเจ้า  ๒๓  พระองค์      ซึ่งเสด็จอุบัติขึ้นส่องโลกให้สว่าง
เหล่านี้   คือ  พระโกณฑัญญะ  ๑   พระสุมังคละ ๑  พระสุมนะ ๑  พระ-
เรวตะ ๑    พระโสภิตะ ๑   พระอโนมทัสสี ๑   พระปทุมะ  ๑   พระ-
นารทะ  ๑  พระปทุมุตตระ ๑  พระสุเมธะ ๑   พระสุชาตะ ๑  พระปิย-
ทัสสี ๑   พระอัตถทัสสี ๑   พระธรรมทัสสี ๑  พระสิทธัตถะ ๑  พระ-
ติสสะ ๑    พระปุสสะ  ๑   พระวิปัสสี  ๑    พระสิขี  ๑    พระเวสสภะ  ๑
พระกกุสันธะ  ๑  พระโกนาคมนะ  ๑  พระกัสสปะ  ๑,"  ทรงบำเพ็ญ
บารมีครบ  ๓๐  คือบารมี  ๑๐  อุปบารมี  ๑๐  ปรมัตถบารมี   ๑๐  (ครั้ง)
ดำรงอยู่ในอัตภาพเป็นพระเวสสันดร  ให้มหาทาน  อันทำแผ่นดินให้ไหว
๗ ครั้ง   ทรงบริจาคพระโอรสและพระชายา.  ในที่สุดพระชนมายุ,  ก็ทรง
อุบัติในดุสิตบุรี   ดำรงอยู่ในดุสิตบุรีนั้น   ตลอดพระชนมายุ,  เมื่อเทวดา
ในหมื่นจักรวาลประชุมกันอาราธนาว่า

"ข้าแต่พระมหาวีระ   กาลนี้    เป็นกาลของพระ-
องค์,    ขอพระองค์  จงเสด็จอุบัติในพระครรภ์พระ-
มารดา    ตรัสรู้อมตบท    ยังโลกนี้กับทั้งเทวโลกให้
ข้ามอยู่."
ทรงเลือกฐานะใหญ่ ๆ    ที่ควรเลือก  ๕      เสด็จจุติจากดุสิตบุรีนั้นแล้ว ***
ทรงถือปฏิสนธิในศากยราชสกุล     อันพระประยูรญาติบำเรออยู่ด้วยมหา-
สมบัติในศากยสกุลนั้น     ทรงถึงความเจริญวัยโดยลำดับ     เสวยสิริราช-
สมบัติในปราสาททั้งสามอันสมควรแก่ฤดูทั้งสามดุจสิริสมบัติในเทวโลก.

***   ฐานใหญ่ที่ควรเลือก  ๕  คือ  ๑.  กาล   ๒.  ประเทศ  ๓.  ทวีป  ๔.  ตระกูล   ๕.  มารดา.

**************************

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น