กล่าวนำและทำความเข้าใจ

กล่าวนำและทำความเข้าใจ

Blog นี้จัดทำขึ้นเนื่องจากการที่ตั้งใจศึกษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าและหลักการปฏิบัติตนตามหลักคำสอนอย่างถูกต้อง
เพราะในปัจจุบันคนเราเน้นการทำบุญโดยเอาความสะดวกสบายและง่ายเข้าว่า โดยบ้างครั้งอาจจะผิดหลักคำสอนจนความตั้งใจทำบุญจริงๆนั้นกลายมาเป็นบาป และบ้างครั้งอาจจะหลงผิดใช้เงินกับการทำบุญที่ผิดวิธีจนได้บาปเช่นกัน แต่เราก็สามารถทำบุญอย่างง่ายๆและถูกต้องได้เช่นกัน ดังนั้นเราจึงต้องรู้หลักการปฏิบัติที่ถูกต้องเพื่อที่จะได้บุญจริงๆ

บทความใน Blog นี้จึงขอมุ่งเน้นหยิบยกเนื้อหาอ้างอิงจากพระไตรปิฏกเป็นหลักและบทความจากผู้ที่ศึกษาพระไตรปิฏกอย่างจริงจังที่น่าจะเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน การทำ Blog นี้มีเจตนาเพื่อเป็นอีกหนึ่งทางที่สำหรับผู้คนอาจจะพบเห็นและได้ศึกษาธรรมมากขึ้น

"การศึกษาอะไรที่ยิ่งใหญ่ อาจจะมาจากเรื่องที่เราสงสัยเล็กๆเพียงเรื่องเดียว"

***ทั้งนี้เนื้อหาที่ได้ลงไปใน Blog ผู้อ่านควรใช้วิจารณญาณและศึกษาจากพระไตรปิฏกควบคู่ไปด้วยเพราะอาจมีการคลาดเคลื่อนของเนื้อหา เพื่อผู้อ่านจะได้รับความรู้ที่ตรงและถูกต้องที่สุดครับ***

วันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2556

การใส่ซอง


การใส่ซอง



บทความนี้ขอพูดเรื่องเงินอีก 1 บทความครับ เพราะเป็นสิ่งที่เราเห็นกันเป็นประจำคือการให้เงินแก่พระ และส่วนใหญ่เราคิดว่าได้บุญ แต่เมื่อผมได้ศึกษาพระไตรปิฏกก็เริ่มมีความรู้ที่ถูกต้องมากขึ้น และพอเมื่อพบเห็นหรือคุยกันกับเพื่อน พ่อ แม่ และเห็นความคิดที่ผิดของแต่ละคนก็ได้บอกกล่าวเพื่อทำความเข้าใจที่ถูกต้องให้แก่คนเหล่านั้น แต่คำตอบที่ได้กลับมาคือ ยุคสมัยเปลี่ยนไปแล้ว สมัยนี้ไม่มีเงินก็ลำบาก หรือไม่ถวายไม่ได้เดียวพระไม่มาสวดให้(ถ้าอย่างนั้นผมว่าอย่าเรียกตนเองว่าพระดีกว่า) หรือบอกว่าถวายเงินเป็นปัจจัยให้สงฆ์ได้ ใช้ครับแต่ต้องถวายให้ถูกต้อง และไม่ใช่ให้กับมือพระโดยตรง 
แต่เชื่อไหมครับมีพระที่บวชเพื่อหาเงินจริงๆ เดือนๆหนึ่งได้มากกว่าค่าแรงขั้นต่ำอีก(ค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท) มิหนำซ้ำยังเลือกที่จะไปงานที่บ้านให้เงินเยอะๆอีก มีการแลกสายการนิมนต์ ผมละอายใจจริงๆครับเมือง "พุทธ" ของเรา พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ชัดเจนว่าพระวินัยนั้นห้ามเพิ่ม ห้ามตัด ห้ามแก้ไข มีแต่พระองค์ที่แก้ไขหรือเพิ่มเติมได้


เงิน - ทองไม่ควรถวายภิกษุ  พระไตรปิกฏ เล่ม 3   หน้า   940
             
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย    ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้   ว่าดังนี้ 

พระบัญญัติ      

อนึ่ง    ภิกษุใด   รับก็ดี   ให้รับก็ดี   ซึ่งทอง - เงิน  
หรือ  ยินดีทอง - เงิน    อันเขาเก็บไว้ให้ก็ดี 
เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์. (ต้องอาบัตินิสสัคคีย์    ต้องสละสิ่งของนั้นออกไป    จึงจะพ้นโทษได้)

--------------------------------------------------------------------------------------------------

ภิกษุแสวงหาเงิน – ทอง ไม่ใช่สมณะเชื้อสายพระศากยบุตรโดยแท้   พระไตรปิกฏ  เล่ม   9    หน้า   536 

...พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า    เอาละ   นายบ้าน    เธอพยากรณ์ ( ตอบปัญหา ) 
อย่างนี้ชื่อว่ากล่าวคล้อยตามเรา  ชื่อว่าไม่กล่าวตู่เราด้วยคำเท็จ  

ชื่อว่า   พยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม   และสหธรรมิก ( ผู้ประพฤติธรรมร่วมกัน ) 
บางรูปผู้กล่าวตามวาทะย่อมไม่ถึงฐานะที่ควรติเตียน  

ดูก่อนนายบ้าน  ทองและเงินไม่ควรแก่สมณะเชื้อสายพระศากยบุตรโดยแท้  
สมณะเชื้อสายพระศากยบุตรไม่ยินดีทองและเงิน   สมณะเชื้อสายพระศากยบุตรไม่รับทองและเงิน  
สมณะเชื้อสายพระศากยบุตรมีแก้วและทองอันวางเสียแล้ว   ปราศจากทองและเงิน   
ทองและเงินควรแก่ผู้ใด   แม้กามคุณ (สิ่งที่น่าปราถนา) ทั้งห้าก็ควรแก่ผู้นั้น    
กามคุณทั้งห้าควรแก่ผู้ใด    เธอพึงจำผู้นั้นไว้โดยส่วนเดียวว่า    มีปกติมิใช่สมณะ (ผู้สงบ)   
มีปกติมิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร   
เราจะกล่าวอย่างนี้ว่า   ผู้ต้องการหญ้า   พึงแสวงหาหญ้า    
ผู้ต้องการไม้   พึงแสวงหาไม้   ผู้ต้องการเกวียน   พึงแสวงหาเกวียน  
ผู้ต้องการบุรุษ   พึงแสวงหาบุรุษ   
แต่เราไม่กล่าวโดยปริยายไรๆ ว่า    สมณะพึงยินดี     พึงแสวงหาทองและเงิน .

อีก 1 อย่างครับ การทำกฐินหรือผ้าป่านั้น ถ้าไม่มีเหตุที่จำเป็นพระก็รับไม่ได้ครับ และการทำที่ถูกต้องสมัยพุทธการก็ไม่เหมือนปัจจุบันนี้ครับ และจะนำมาเขียนในบทความต่อไปครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น