กล่าวนำและทำความเข้าใจ

กล่าวนำและทำความเข้าใจ

Blog นี้จัดทำขึ้นเนื่องจากการที่ตั้งใจศึกษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าและหลักการปฏิบัติตนตามหลักคำสอนอย่างถูกต้อง
เพราะในปัจจุบันคนเราเน้นการทำบุญโดยเอาความสะดวกสบายและง่ายเข้าว่า โดยบ้างครั้งอาจจะผิดหลักคำสอนจนความตั้งใจทำบุญจริงๆนั้นกลายมาเป็นบาป และบ้างครั้งอาจจะหลงผิดใช้เงินกับการทำบุญที่ผิดวิธีจนได้บาปเช่นกัน แต่เราก็สามารถทำบุญอย่างง่ายๆและถูกต้องได้เช่นกัน ดังนั้นเราจึงต้องรู้หลักการปฏิบัติที่ถูกต้องเพื่อที่จะได้บุญจริงๆ

บทความใน Blog นี้จึงขอมุ่งเน้นหยิบยกเนื้อหาอ้างอิงจากพระไตรปิฏกเป็นหลักและบทความจากผู้ที่ศึกษาพระไตรปิฏกอย่างจริงจังที่น่าจะเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน การทำ Blog นี้มีเจตนาเพื่อเป็นอีกหนึ่งทางที่สำหรับผู้คนอาจจะพบเห็นและได้ศึกษาธรรมมากขึ้น

"การศึกษาอะไรที่ยิ่งใหญ่ อาจจะมาจากเรื่องที่เราสงสัยเล็กๆเพียงเรื่องเดียว"

***ทั้งนี้เนื้อหาที่ได้ลงไปใน Blog ผู้อ่านควรใช้วิจารณญาณและศึกษาจากพระไตรปิฏกควบคู่ไปด้วยเพราะอาจมีการคลาดเคลื่อนของเนื้อหา เพื่อผู้อ่านจะได้รับความรู้ที่ตรงและถูกต้องที่สุดครับ***

วันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2556

ทำไมต้องมีวันพระ ???


ทำไมต้องมีวันพระ ???



พักจากเรื่องเงินๆทองๆมาหาความรู้กันดีกว่าครับ  เรารู้กันอยู่ครับว่าเราเป็นชาวพุทธ เมืองพุทธ แต่รู้ไหมครับว่าทำไมต้องมีวันพระ จากที่สงสัยและก็ลองนึกหาคำตอบเพราะตั้งแต่เกิดมาก็ไม่เคยทราบถึงต้นกำเนิดของวันพระทราบแต่ว่า "ไปทำบุญกันวันนี้วันพระ" แค่นั้น ผมจึงได้หาคำตอบจากในพระไตรปิฏกถึงต้นกำเนิดวันพระมาให้ศึกษากันครับ

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔  พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ 
มหาวรรค ภาค ๑

อุโบสถขันธกะ
เรื่องปริพาชกอัญญเดียรถีย์
             [๑๔๗] ก็โดยสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขต
พระนครราชคฤห์. ครั้งนั้น พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ ถึงวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำ
แห่งปักษ์ ย่อมประชุมกันกล่าวธรรม. คนทั้งหลายเข้าไปหาปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้นเพื่อ
ฟังธรรม. พวกเขาได้ความรัก ได้ความเลื่อมใส ในพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ ปริพาชกอัญญ-
*เดียรถีย์ย่อมได้พรรคพวก. ครั้งนั้น พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช เสด็จไปในที่สงัด หลีก
เร้นอยู่ ได้มีพระราชปริวิตกแห่งพระราชหฤทัยเกิดขึ้น อย่างนี้ว่า เดี๋ยวนี้ถึงวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ
และ ๘ ค่ำ แห่งปักษ์ พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ย่อมประชุมกันกล่าวธรรม คนทั้งหลายเข้าไป
หาปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้นเพื่อฟังธรรม พวกเขาได้ความรัก ได้ความเลื่อมใส ในพวก
ปริพาชกอัญญเดียรถีย์ ปริพาชกอัญญเดียรถีย์ย่อมได้พรรคพวก ไฉนหนอพระคุณเจ้าทั้งหลาย
พึงประชุมกันในวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำ แห่งปักษ์บ้าง จึงท้าวเธอเข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาค ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ท้าวเธอประทับ
นั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลข้อปริวิตกนั้นต่อพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า หม่อมฉันไปในที่
สงัด หลีกเร้นอยู่ ณ ตำบลนี้ ได้มีความปริวิตกแห่งจิตเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า เดี๋ยวนี้พวกปริพาชก
อัญญเดียรถีย์ ถึงวัน  ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำ แห่งปักษ์ย่อมประชุมกันกล่าวธรรม คน
ทั้งหลายเข้าไปหาปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้นเพื่อฟังธรรม พวกเขาได้ความรัก ได้ความ
เลื่อมใส ในพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ ปริพาชกอัญญเดียรถีย์ย่อมได้พรรคพวก ไฉนหนอ
พระคุณเจ้าทั้งหลาย พึงประชุมกันในวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำ แห่งปักษ์บ้าง หม่อมฉัน
ขอประทานพระวโรกาส ขอพระคุณเจ้าทั้งหลายพึงประชุมกันในวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘  ค่ำ
แห่งปักษ์บ้างเถิด พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงแสดงธรรมีกถา
             ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราชทรงเห็นแจ้ง
สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว. ครั้นท้าวเธออันพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจง ให้เห็นแจ้ง
สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว เสด็จลุกจากที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มี
พระภาค ทรงทำประทักษิณเสด็จกลับไป.

พระพุทธานุญาตวันประชุม
             ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุ
แรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ประชุมกัน ในวัน
๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำ แห่งปักษ์.


ประชุมนั่งนิ่ง
             [๑๔๘] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายพูดกันว่า พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้
ประชุมกันในวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำ แห่งปักษ์. ภิกษุเหล่านั้นจึงประชุมกันในวัน ๑๔ ค่ำ
๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำ แห่งปักษ์ แล้วนั่งนิ่งเสีย. คนทั้งหลายเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นเพื่อฟังธรรม.
พวกเขาต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรประชุมกัน
ในวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำ แห่งปักษ์ จึงได้นั่งนิ่งเสียเหมือนสุกรอ้วนเล่า ธรรมเนียม
ภิกษุผู้ประชุมกัน ควรกล่าวธรรมมิใช่หรือ? ภิกษุทั้งหลายได้ยินพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน
โพนทะนาอยู่ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.

พระพุทธานุญาตให้กล่าวธรรม
             ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุ
แรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ประชุมกันกล่าวธรรม
ในวัน ๑๔ ค่ำ  ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำ แห่งปักษ์.

พระพุทธานุญาตปาติโมกขุเทศ
             [๑๔๙] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จไป ณ ที่สงัด หลีกเร้นอยู่ ได้มีพระปริวิตกแห่ง
พระทัยเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ไฉนหนอเราพึงอนุญาตสิกขาบทที่เราบัญญัติแล้วแก่ภิกษุทั้งหลาย ให้
เป็นปาติโมกขุเทศของพวกเธอ ปาติโมกขุเทศนั้นจักเป็นอุโบสถกรรมของพวกเธอ. ครั้นเวลา
สายัณห์ พระองค์เสด็จออกจากที่เร้นแล้ว ทรงทำธรรมีกถาในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะ
เหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไปในที่สงัด หลีกเร้นอยู่ ณ
ตำบลนี้ ได้มีความปริวิตกแห่งจิตเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ไฉนหนอเราพึงอนุญาตสิกขาบทที่เราบัญญัติ
แล้วแก่ภิกษุทั้งหลาย ให้เป็นปาติโมกขุเทศของพวกเธอ  ปาติโมกขุเทศนั้นจักเป็นอุโบสถกรรม
ของพวกเธอ ดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สวดปาติโมกข์.
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล ภิกษุพึงสวดอย่างนี้:-
             ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
             ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงทำอุโบสถ
พึงสวดปาติโมกข์. อะไรเป็นบุพพกิจของสงฆ์? ท่านทั้งหลายพึงบอกความบริสุทธิ์. ข้าพเจ้าจัก
สวดปาติโมกข์. พวกเราบรรดาที่มีอยู่ทั้งหมดจงฟัง จงใส่ใจซึ่งปาติโมกข์นั้นให้สำเร็จประโยชน์.
ท่านผู้ใดมีอาบัติ ท่านผู้นั้นพึงเปิดเผย เมื่ออาบัติไม่มี พึงนิ่งอยู่. ก็ด้วยความเป็นผู้นิ่งแล
ข้าพเจ้าจักทราบท่านทั้งหลายว่าเป็นผู้บริสุทธิ์. การสวดประกาศกว่าจะครบ ๓ จบ ในบริษัทเห็น
ปานนี้ย่อมเป็นเหมือนการกล่าวแก้เฉพาะรูป ที่ถูกถามผู้เดียวฉะนั้น. ก็ภิกษุรูปใด เมื่อสวด
ประกาศกว่าจะครบ ๓ จบ ระลึกได้ ไม่ยอมเปิดเผยอาบัติที่มีอยู่ สัมปชานมุสาวาทย่อมมีแก่
ภิกษุรูปนั้น. ท่านทั้งหลาย ก็สัมปชานมุสาวาท พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เป็นธรรมทำอันตราย
เพราะฉะนั้น ภิกษุต้องอาบัติแล้วระลึกได้ หวังความบริสุทธิ์ พึงเปิดเผยอาบัติที่มีอยู่. เพราะ
เปิดเผยอาบัติแล้ว ความผาสุกย่อมมีแก่เธอ.

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=04&A=4053&Z=4207

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น