กล่าวนำและทำความเข้าใจ
กล่าวนำและทำความเข้าใจ
Blog นี้จัดทำขึ้นเนื่องจากการที่ตั้งใจศึกษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าและหลักการปฏิบัติตนตามหลักคำสอนอย่างถูกต้อง
เพราะในปัจจุบันคนเราเน้นการทำบุญโดยเอาความสะดวกสบายและง่ายเข้าว่า โดยบ้างครั้งอาจจะผิดหลักคำสอนจนความตั้งใจทำบุญจริงๆนั้นกลายมาเป็นบาป และบ้างครั้งอาจจะหลงผิดใช้เงินกับการทำบุญที่ผิดวิธีจนได้บาปเช่นกัน แต่เราก็สามารถทำบุญอย่างง่ายๆและถูกต้องได้เช่นกัน ดังนั้นเราจึงต้องรู้หลักการปฏิบัติที่ถูกต้องเพื่อที่จะได้บุญจริงๆ
บทความใน Blog นี้จึงขอมุ่งเน้นหยิบยกเนื้อหาอ้างอิงจากพระไตรปิฏกเป็นหลักและบทความจากผู้ที่ศึกษาพระไตรปิฏกอย่างจริงจังที่น่าจะเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน การทำ Blog นี้มีเจตนาเพื่อเป็นอีกหนึ่งทางที่สำหรับผู้คนอาจจะพบเห็นและได้ศึกษาธรรมมากขึ้น
"การศึกษาอะไรที่ยิ่งใหญ่ อาจจะมาจากเรื่องที่เราสงสัยเล็กๆเพียงเรื่องเดียว"
***ทั้งนี้เนื้อหาที่ได้ลงไปใน Blog ผู้อ่านควรใช้วิจารณญาณและศึกษาจากพระไตรปิฏกควบคู่ไปด้วยเพราะอาจมีการคลาดเคลื่อนของเนื้อหา เพื่อผู้อ่านจะได้รับความรู้ที่ตรงและถูกต้องที่สุดครับ***
วันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2556
ทำไมต้องมีวันพระ ???
ทำไมต้องมีวันพระ ???
พักจากเรื่องเงินๆทองๆมาหาความรู้กันดีกว่าครับ เรารู้กันอยู่ครับว่าเราเป็นชาวพุทธ เมืองพุทธ แต่รู้ไหมครับว่าทำไมต้องมีวันพระ จากที่สงสัยและก็ลองนึกหาคำตอบเพราะตั้งแต่เกิดมาก็ไม่เคยทราบถึงต้นกำเนิดของวันพระทราบแต่ว่า "ไปทำบุญกันวันนี้วันพระ" แค่นั้น ผมจึงได้หาคำตอบจากในพระไตรปิฏกถึงต้นกำเนิดวันพระมาให้ศึกษากันครับ
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔
มหาวรรค ภาค ๑
อุโบสถขันธกะ
เรื่องปริพาชกอัญญเดียรถีย์
[๑๔๗] ก็โดยสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขต
พระนครราชคฤห์. ครั้งนั้น พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ ถึงวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำ
แห่งปักษ์ ย่อมประชุมกันกล่าวธรรม. คนทั้งหลายเข้าไปหาปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้นเพื่อ
ฟังธรรม. พวกเขาได้ความรัก ได้ความเลื่อมใส ในพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ ปริพาชกอัญญ-
*เดียรถีย์ย่อมได้พรรคพวก. ครั้งนั้น พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช เสด็จไปในที่สงัด หลีก
เร้นอยู่ ได้มีพระราชปริวิตกแห่งพระราชหฤทัยเกิดขึ้น อย่างนี้ว่า เดี๋ยวนี้ถึงวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ
และ ๘ ค่ำ แห่งปักษ์ พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ย่อมประชุมกันกล่าวธรรม คนทั้งหลายเข้าไป
หาปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้นเพื่อฟังธรรม พวกเขาได้ความรัก ได้ความเลื่อมใส ในพวก
ปริพาชกอัญญเดียรถีย์ ปริพาชกอัญญเดียรถีย์ย่อมได้พรรคพวก ไฉนหนอพระคุณเจ้าทั้งหลาย
พึงประชุมกันในวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำ แห่งปักษ์บ้าง จึงท้าวเธอเข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาค ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ท้าวเธอประทับ
นั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลข้อปริวิตกนั้นต่อพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า หม่อมฉันไปในที่
สงัด หลีกเร้นอยู่ ณ ตำบลนี้ ได้มีความปริวิตกแห่งจิตเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า เดี๋ยวนี้พวกปริพาชก
อัญญเดียรถีย์ ถึงวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำ แห่งปักษ์ย่อมประชุมกันกล่าวธรรม คน
ทั้งหลายเข้าไปหาปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้นเพื่อฟังธรรม พวกเขาได้ความรัก ได้ความ
เลื่อมใส ในพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ ปริพาชกอัญญเดียรถีย์ย่อมได้พรรคพวก ไฉนหนอ
พระคุณเจ้าทั้งหลาย พึงประชุมกันในวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำ แห่งปักษ์บ้าง หม่อมฉัน
ขอประทานพระวโรกาส ขอพระคุณเจ้าทั้งหลายพึงประชุมกันในวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำ
แห่งปักษ์บ้างเถิด พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงแสดงธรรมีกถา
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราชทรงเห็นแจ้ง
สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว. ครั้นท้าวเธออันพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจง ให้เห็นแจ้ง
สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว เสด็จลุกจากที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มี
พระภาค ทรงทำประทักษิณเสด็จกลับไป.
พระพุทธานุญาตวันประชุม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุ
แรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ประชุมกัน ในวัน
๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำ แห่งปักษ์.
การใส่ซอง
การใส่ซอง
บทความนี้ขอพูดเรื่องเงินอีก 1 บทความครับ เพราะเป็นสิ่งที่เราเห็นกันเป็นประจำคือการให้เงินแก่พระ และส่วนใหญ่เราคิดว่าได้บุญ แต่เมื่อผมได้ศึกษาพระไตรปิฏกก็เริ่มมีความรู้ที่ถูกต้องมากขึ้น และพอเมื่อพบเห็นหรือคุยกันกับเพื่อน พ่อ แม่ และเห็นความคิดที่ผิดของแต่ละคนก็ได้บอกกล่าวเพื่อทำความเข้าใจที่ถูกต้องให้แก่คนเหล่านั้น แต่คำตอบที่ได้กลับมาคือ ยุคสมัยเปลี่ยนไปแล้ว สมัยนี้ไม่มีเงินก็ลำบาก หรือไม่ถวายไม่ได้เดียวพระไม่มาสวดให้(ถ้าอย่างนั้นผมว่าอย่าเรียกตนเองว่าพระดีกว่า) หรือบอกว่าถวายเงินเป็นปัจจัยให้สงฆ์ได้ ใช้ครับแต่ต้องถวายให้ถูกต้อง และไม่ใช่ให้กับมือพระโดยตรง
แต่เชื่อไหมครับมีพระที่บวชเพื่อหาเงินจริงๆ เดือนๆหนึ่งได้มากกว่าค่าแรงขั้นต่ำอีก(ค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท) มิหนำซ้ำยังเลือกที่จะไปงานที่บ้านให้เงินเยอะๆอีก มีการแลกสายการนิมนต์ ผมละอายใจจริงๆครับเมือง "พุทธ" ของเรา พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ชัดเจนว่าพระวินัยนั้นห้ามเพิ่ม ห้ามตัด ห้ามแก้ไข มีแต่พระองค์ที่แก้ไขหรือเพิ่มเติมได้
เงิน - ทองไม่ควรถวายภิกษุ พระไตรปิกฏ เล่ม 3 หน้า 940
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้
พระบัญญัติ
อนึ่ง ภิกษุใด รับก็ดี ให้รับก็ดี ซึ่งทอง - เงิน
หรือ ยินดีทอง - เงิน อันเขาเก็บไว้ให้ก็ดี
เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์. (ต้องอาบัตินิสสัคคีย์ ต้องสละสิ่งของนั้นออกไป จึงจะพ้นโทษได้)
--------------------------------------------------------------------------------------------------
ภิกษุแสวงหาเงิน – ทอง ไม่ใช่สมณะเชื้อสายพระศากยบุตรโดยแท้ พระไตรปิกฏ เล่ม 9 หน้า 536
...พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เอาละ นายบ้าน เธอพยากรณ์ ( ตอบปัญหา )
อย่างนี้ชื่อว่ากล่าวคล้อยตามเรา ชื่อว่าไม่กล่าวตู่เราด้วยคำเท็จ
วันพุธที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2556
!!!!!!!!!!!!!
!!!!!!!!!!!!!
อันนี้ดูกันเอาเองครับว่าเหมาะสมหรือไม่ครับ สำหรับเพศสมณะ ที่สละซึ่ง เงิน ทอง ของมีค่า และกิเลศทั้งหลาย
วันอังคารที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2556
ทำบุญอย่างไรได้ไปสวรรค์ชั้นไหน ?
ทำบุญอย่างไรได้ไปสวรรค์ชั้นไหน ?
ตามพระไตรปิฏกนั้นมีเรื่องของนรกและสวรรค์มากมาย บทความนี้ขอยกเรื่องสวรรค์มานะครับ พระพุทธเจ้าได้ตรัสว้ว่าสวรรค์มีทั้งหมด 6 ชั้น (ไม่ได้มีสวรรค์ชั้น 7 แต่อย่างใด) ถัดจาก สวรรค์ชั้นที่ 6 ขึ้นไปจะเป็นพรหมโลก 20 ชั้น โดยสวรรค์แต่ละชั้นมีชื่อดังนี้ครับ
ชั้นที่ 1 จตุมหาราช (ชั้นล่างสุด)
ชั้นที่ 2 ดาวดึงส์
ชั้นที่ 3 ยามา
ชั้นที่ 4 ดุสิต
ชั้นที่ 5 นิมมานรดี
ชั้นที่ 6 ปรนิมมิตวสวัตดี (ชั้นบนสุด)
เมื่อตายไปแล้วถ้าได้ขึ้นสวรรค์ เราจะได้ขึ้นสวรรค์ชั้นไหนนั้นแล้วแต่บุญที่เราได้ทำไว้ว่ามากน้อยขนาดไหน ยิ่งชั้นสูงเท่าไหร่บุญของผู้นั้นต้องมากขึ้นตามไปด้วยถึงจะได้อยู่ในชั้นนั้นๆ และทำบุญแบบไหนถึงจะได้ไปอยู่สวรรค์ชั้นไหน ขอยกพุทธพจณ์มาให้ศึกษากันนะครับ
242 การให้ทานในแบบต่างๆ และผลของทานชนิดนั้นๆ
ปัญหา ก่อนที่จะให้ทาน ถ้าเราตั้งใจขอให้ได้เสวยผลของทานผลจะเป็นอย่างไร?
พุทธดำรัสตอบ “...บุคคลมีความหวังให้ทาน มีจิตผูกพันในผลแล้วให้ทานมุ่งการสั่งสมให้ทาน ให้ทานด้วยคิดว่า ตายไปแล้วจักได้เสวยผลทานนี้เขาผู้นั้นให้ทานนั้นแล้ว เมื่อตายไป ย่อมเข้า
ถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นจตุมหาราช สิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว ยังมีการกลับมา คือมาสู่ความเป็น (มนุษย์) อย่างนี้”
ปัญหา คนบางคนเมื่อให้ทาน ไม่มุ่งหวังผลตอบแทนอะไร เห็นว่าการให้ทานเป็นความดี ก็ให้ทานเพื่อกระทำความดี ทานแบบนี้จะมีผลอย่างไร?
พุทธดำรัสตอบ “...ในการให้ทานนั้น บุคคลไม่มีความหวังให้ทาน ไม่มีจิตผูกพันในผลให้ทาน ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า ตายไปแล้วจักได้เสวยผลทานนี้แต่ให้ทานด้วยคิดว่า ทานเป็นการดี เขาผู้
นั้นเมื่อให้ทานนั้นแล้ว เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นดาวดึงส์ สิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว ยังมีการกลับมา คือมาสู่ความเป็น อย่างนี้”
ปัญหา บางคนให้ทาน ไม่ใช่เพราะหวังผลทาน ไม่ใช่เพราะเห็นว่าการให้ทานเป็นความดี แต่ให้ทานเพราะมารดาบิดาปู่ย่าตายายเคยให้มา ให้ทานเพื่อรักษาประเพณี ผลทานจะเป็นอย่างไร?
พุทธดำรัสตอบ “...บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่มีความหวังจึงให้ทาน... ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า ทานเป็นการดี แต่ให้ทานด้วยคิดว่า มารดาบิดาปู่ย่าตายายเคยให้มา เราก็ไม่ควรทำให้เสียประเพณี
เขาให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ฯลฯ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นยามา สิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว ยังมีการกลับมา คือมาสู่ความเป็น อย่างนี้”
วันจันทร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2556
โยมไม่รู้ พระไม่รู้ แล้วใครผิด ???
โยมไม่รู้ พระไม่รู้ แล้วใครผิด ???
พอผมได้มาศึกษาพระไตรปิฏกแล้ว ก็กลับไปนึกถึงเรื่องราวต่างๆที่เกียวกับพระพุทธศาสนาที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นการทำบุญที่คิดว่าได้บุญ หรือการรวมประเพณีต่างๆของศาสนา ก็นึกตกใจว่าเราทำกันอยู่ที่คิดว่าได้บุญนั้นจริงหรือ ?
อย่างเช่น วัดห้ามจัดงานวัด พระห้ามจับเงิน ทอง ถวายของที่ไม่เหมาะสมกับพระก็เป็นบาป ไหว้ศาล ไหว้เทวดา ไหว้เจ้าที่ พระห้ามทำพิธีปลูกเรือนทำพิธีบวงสรวงพื้นที่ พ่นน้ำมนต์ รดน้ำมนต์ เป็นหมอ ปลุกเสก เป็นหมอผี เป็นหมอลงเลขยันต์คุ้มกันบ้านเรือน ให้ฤกษ์อาวาหมงคล ให้ฤกษ์วิวาหมงคล ดูฤกษ์เรียงหมอน ดูฤกษ์หย่าร้าง ดูฤกษ์เก็บทรัพย์ ดูฤกษ์จ่ายทรัพย์ ดูโชคดี ดูเคราะห์
เห็นไหมครับว่าที่ทุกวันเราทำอยู่นั้นผิดกันขนาดไหน เราทำตาม ปู ย่า ตา ยาย พ่อ แม่ เราต่อๆกันมาโดยที่ไม่ได้ศึกษาเพิ่มเติม และอาจเพราะว่า
1.โยมคิดว่าไปทำบุญเอาอะไรไปทำก็ได้บุญเพราะไม่ได้ศึกษาว่าอันไหนทำได้หรือไม่ได้
2.โยมไม่รู้ พระก็ไม่รู้ เพราะพระก็ไม่ได้ศึกษาเช่นกัน โยมขอให้พระดูฤกษ์ รดน้ำมนต์ เจิมรถ เจิมบ้าน เจิมร้าน ให้ พระก็ทำให้ตามที่ขอ
* น่าคิดไหมครับว่าเป็นแบบไหน ?
* แล้วอย่างนี้จะบอกว่าศาสนาเสื่อมหรือคนเสื่อมดี ทั้งที่พระวินัยและพระธรรม นั้นล่วงมาถึง 2600 ปี โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง ?
* เราเรียนวิชาพระพุทธศาสนาทุกเทอม แต่มีบทเรียนที่สอนถึงการทำบุญที่ถูกต้องหรือที่เหมาะสมน้อยมาก แล้วอย่างนี้เราจะพูดว่าเราเป็น "เมืองพุทธ" ที่ถูกต้องได้อย่างไร ?
มัชฌิมศีล
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ หน้าที่ 311
(๑๐๔) ๑. ภิกษุเว้นขาดจากการพรากพืชคาม และภูตคาม เช่น
อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธา
แล้ว ยังประกอบการพรากพืชคามและภูตคามเห็นปานนี้ คือพืชเกิดแต่
เง่า พืชเกิดแต่ลำต้น พืชเกิดแต่ผล พืชเกิดแต่ยอด พืชเกิดแต่เมล็ด
เป็นที่ครบห้า แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
(๑๐๕) ๒. ภิกษุเว้นขาดจากการบริโภคของที่ทำการสะสมไว้
เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธา
แล้ว ยังประกอบการบริโภคของที่ทำการสะสมไว้เห็นปานนี้ คือ สะสมข้าว
สะสมน้ำ สะสมผ้า สะสมยาน สะสมที่นอน สะสมของหอม สะสมอามิส
แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
(๑๐๖) ๓. ภิกษุเว้นขาดจากการดูการเล่น อันเป็นข้าศึกแก่
กุศล เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้
ด้วยศรัทธาแล้ว ยังขวนขวายดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศลเห็นปานนี้ คือ
การฟ้อนรำ การขับร้อง การประโคม มหรสพ มีการรำเป็นต้น การ
เล่านิยาย การเล่นปรบมือ การเล่นปลุกผี การเล่นตีกลอง ฉากบ้านเมือง
ที่สวยงาม การเล่นของคนจัณฑาล การเล่นไม้สูง การเล่นหน้าศพ ชนช้าง
ชนม้า ชนกระบือ ชนโค ชนแพะ ชนแกะ ชนไก่ รบนกกระทา
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)