ปฏิรูป !!!!!!
ช่วงนี้อาจจะได้ยินคำนี้เยอะครับ เพราะการเมืองกำลังร้อนแรง แต่ถ้าจะให้ผมพูดผมอยากให้มีการปฏิรูปพระในประเทศมากกว่าครับ เพราะข่าวทุกวันนี้ก็ยังเห็นพระที่ทำผิดพระวินัยอยู่ แต่ที่แปลกก็คือทั้งๆที่เห็นว่าพระทำผิดพระวินัยและมีการนำมาออกข่าว แต่คนดูก็ยังไม่รู้ว่พระทำผิดวินัยครับ
ขอยกตัวอย่างข่าวเมื่อเช้านี้ครับ
" มีพระไปถอนเงินที่ธนาคารและมีคนขโมยเงินไปต่อหน้าต่อตา "
ผลสรุปคือ ชาวบ้านนั้นโกรธคนที่ขโมยเงินของพระครับ
ซึ่งในทางกฏหมายนั้นคนนั้นผิดแน่นอนที่ขโมยของครับ
แต่ถ้าทางธรรมนั้น พระนั้นผิดพระวินัยครับที่มีเงิน รับเงิน จับเงินครับ
เรื่องทั้งหมดนี้เราทุกคนจะเข้าใจได้ว่าใครผิดใครถูกถ้าพระและโยมศึกษาพระธรรมบ้างให้สมกับที่นับถือศาสนาพุทธครับ
พระนั้นย่อมต้องศึกษาพระธรรมแน่นอนอยู่แล้วครับ ส่วนโยมอย่างน้อยก็น่าจะศึกษาไว้บ้างครับ
เหมือนกับที่เราจะซื้อรถก็ต้องดูว่ารถรุ่นไหนดี และยี่ห้ออะไรที่ว่าดีนั้นเป็นเช่นไร ก็เหมือนกับพระที่ว่าดีนั้นเป็นเช่นไร
ถ้าเปรียบก็อาจจะเปรียบได้ว่า "พระธรรมวินัย" ก็คือคู่มือดูพระนั้นเองครับว่าพระต้องปฏิบัติตนเช่นไรถึงจะเรียกว่าพระที่ดี
แต่มี 1 สิ่งที่เราอาจจะลืมไปครับว่าเราทุกคนที่เรียนวิชาพระพุทธศาสนารู้กันดีว่าพระศาสดาของเราก่อนที่จะออกผนวชนั้นเป็นถึงทายาทกษัตริย์ ที่มี ลาภ ยศ และโภคทรัพย์มากมาย แต่พระพุทธองค์ก็หนี้สิ่งเหล่านั้นเพื่อความหลุดพ้น
แต่ดูพระในบ้านเมืองเราสมัยนี้สิครับอาจจะพูดได้ว่าบวชมาเพื่อหาทรัพย์สิ่งของก็ว่าได้ มีเงินเก็บเป็นแสนเป็นล้าน ซึ่งมากว่าโยมผู้ตั้งหน้าตั้งตาทำบุญซะอีก และขัดกับการปฏิบัติของพระศาสดาอย่างมากมาย
เพียง 1 ข้อที่กล่าวมานี้ก็น่าจะทำให้ใครหลายๆคนคิดได้นะครับว่าพระศาสดาของเรายังทิ้งทรัพย์สินเพื่อหาทางหลุดพ้นและห้ามการรับ เงิน ทอง ต่างๆ แล้วพระที่บวชเข้ามาเป็นสาวกของพระองค์จะบวชมาเพื่อหาทรัพย์สินไปทำไมกัน ?
สิ่งที่กล่าวมานี้คิดว่าถูกหรือผิด และเป็นเหตุเป็นผลหรือไม่ครับ ขอฝากให้คิดกันนะครับ
พระไม่สามารถรับเงิน ทอง ที่ดิน สิ่งของที่มีค่า หรือแม้กระทั้งซื้อของเองได้
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
จุลศีล
[๑๐๓] ดูกรมหาบพิตร อย่างไร ภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล.
๑๓. เธอเว้นขาดจากการรับทองและเงิน.
๑๔. เธอเว้นขาดจากการรับธัญญาหารดิบ.
๑๕. เธอเว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ.
๑๖. เธอเว้นขาดจากการรับสตรีและกุมารี.
๑๗. เธอเว้นขาดจากการรับทาสีและทาส.
๑๘. เธอเว้นขาดจากการรับแพะและแกะ.
๑๙. เธอเว้นขาดจากการรับไก่และสุกร.
๒๐. เธอเว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า และลา.
๒๑. เธอเว้นขาดจากการรับไร่นาและที่ดิน.
๒๒. เธอเว้นขาดจากการประกอบทูตกรรมและการรับใช้.
๒๓. เธอเว้นขาดจากการซื้อการขาย.
๒๕. เธอเว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวง และการตลบตะแลง.
**************************************************************************
กล่าวนำและทำความเข้าใจ
กล่าวนำและทำความเข้าใจ
Blog นี้จัดทำขึ้นเนื่องจากการที่ตั้งใจศึกษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าและหลักการปฏิบัติตนตามหลักคำสอนอย่างถูกต้อง
เพราะในปัจจุบันคนเราเน้นการทำบุญโดยเอาความสะดวกสบายและง่ายเข้าว่า โดยบ้างครั้งอาจจะผิดหลักคำสอนจนความตั้งใจทำบุญจริงๆนั้นกลายมาเป็นบาป และบ้างครั้งอาจจะหลงผิดใช้เงินกับการทำบุญที่ผิดวิธีจนได้บาปเช่นกัน แต่เราก็สามารถทำบุญอย่างง่ายๆและถูกต้องได้เช่นกัน ดังนั้นเราจึงต้องรู้หลักการปฏิบัติที่ถูกต้องเพื่อที่จะได้บุญจริงๆ
บทความใน Blog นี้จึงขอมุ่งเน้นหยิบยกเนื้อหาอ้างอิงจากพระไตรปิฏกเป็นหลักและบทความจากผู้ที่ศึกษาพระไตรปิฏกอย่างจริงจังที่น่าจะเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน การทำ Blog นี้มีเจตนาเพื่อเป็นอีกหนึ่งทางที่สำหรับผู้คนอาจจะพบเห็นและได้ศึกษาธรรมมากขึ้น
"การศึกษาอะไรที่ยิ่งใหญ่ อาจจะมาจากเรื่องที่เราสงสัยเล็กๆเพียงเรื่องเดียว"
***ทั้งนี้เนื้อหาที่ได้ลงไปใน Blog ผู้อ่านควรใช้วิจารณญาณและศึกษาจากพระไตรปิฏกควบคู่ไปด้วยเพราะอาจมีการคลาดเคลื่อนของเนื้อหา เพื่อผู้อ่านจะได้รับความรู้ที่ตรงและถูกต้องที่สุดครับ***
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น