กล่าวนำและทำความเข้าใจ

กล่าวนำและทำความเข้าใจ

Blog นี้จัดทำขึ้นเนื่องจากการที่ตั้งใจศึกษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าและหลักการปฏิบัติตนตามหลักคำสอนอย่างถูกต้อง
เพราะในปัจจุบันคนเราเน้นการทำบุญโดยเอาความสะดวกสบายและง่ายเข้าว่า โดยบ้างครั้งอาจจะผิดหลักคำสอนจนความตั้งใจทำบุญจริงๆนั้นกลายมาเป็นบาป และบ้างครั้งอาจจะหลงผิดใช้เงินกับการทำบุญที่ผิดวิธีจนได้บาปเช่นกัน แต่เราก็สามารถทำบุญอย่างง่ายๆและถูกต้องได้เช่นกัน ดังนั้นเราจึงต้องรู้หลักการปฏิบัติที่ถูกต้องเพื่อที่จะได้บุญจริงๆ

บทความใน Blog นี้จึงขอมุ่งเน้นหยิบยกเนื้อหาอ้างอิงจากพระไตรปิฏกเป็นหลักและบทความจากผู้ที่ศึกษาพระไตรปิฏกอย่างจริงจังที่น่าจะเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน การทำ Blog นี้มีเจตนาเพื่อเป็นอีกหนึ่งทางที่สำหรับผู้คนอาจจะพบเห็นและได้ศึกษาธรรมมากขึ้น

"การศึกษาอะไรที่ยิ่งใหญ่ อาจจะมาจากเรื่องที่เราสงสัยเล็กๆเพียงเรื่องเดียว"

***ทั้งนี้เนื้อหาที่ได้ลงไปใน Blog ผู้อ่านควรใช้วิจารณญาณและศึกษาจากพระไตรปิฏกควบคู่ไปด้วยเพราะอาจมีการคลาดเคลื่อนของเนื้อหา เพื่อผู้อ่านจะได้รับความรู้ที่ตรงและถูกต้องที่สุดครับ***

วันอังคารที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2557

มนุษย์โลก

มนุษย์โลก


ตั้งแต่ศึกษาพระธรรมมาผมว่าผมเข้าใจคำว่ากฏแห่งกรรมครับ คือ กรรมใดใครก่อกรรมนั้นตามสนอง ผู้ใดที่ทำกรรมอะไรไว้ ผู้นั้นจะได้กรรมนั้นแน่นอน นั้นคือระบบของธรรมชาติเราครับ ไม่ว่าจะทำบุญหรือทำบาปก็ตาม

ต้องบอกก่อนว่าบทความนี้เขียนจากที่ผมได้อ่านพวกข่าวต่างๆที่เห็นทาง facebook เกี่ยวกับสัตว์ครับ และผมเป็นคนหนึ่งที่เลี้ยงสัตว์และรักพวกมันครับ

ซึ่งก่อนหน้านี้ผมได้เห็นข่าวที่ว่ามีการฆ่าสัตว์และทรมานสัตว์จนตายมากมายหลายข่าว จนรู้สึกสลดใจมากๆ ในฐานะผู้เลี้ยงสัตว์คนหนึ่งเช่นกัน

ในทางธรรมนั้นผมเข้าใจว่าเป็นกรรมของพวกมันที่โดนกระทำอย่างนั้น เพราะถ้าพวกมันไม่เคยทำกรรมแบบนี้มาก่อนก็คงไม่โดนเขามากระทำคืนอย่างแน่นอน

ผมเคยฟังธรรมของพระองค์หนึ่งได้อธิบายคำว่า "มนุษย์โลก" เอาไว้ว่า โลกของผู้ที่มีจิตใจสูง ซึ่งจะสังเกตุได้จากการที่พระพุทธเจ้านั้นต้องตรัสรู้จากผู้ที่เป็นมนุษย์เท่านั้น

จากคำกล่าวของท่านนั้นทำให้ผมคิดว่าเมื่อเราเป็นมนุษย์ เป็นผู้ที่ถูกเรียกว่าผู้ที่มีจิตใจสูง เราน่าจะมีภาวะของความคิดในการเมตตาต่อสัตว์โลกทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นสัตว์เล็กหรือสัตว์ใหญ่ มีความยั้งคิดที่มากกว่านี้หรือไม่ ???

แต่ในความจริงแล้วเมื่อมาเทียบกับธรรมชาติแล้วแรงบีบครั้นเรื่องกรรมนั้นหนักมากครับ และจะวนเวียนตามสนองผู้ที่กระทำและถูกกระทำไปเรื่อยๆ ถ้าผู้นั้นไม่รู้จักคำว่า "อโหสิกรรม" ครับ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 122

อธิบายทิฏฐิธรรมเวทนียกรรม

บรรดากรรม   ๑๑  อย่างนั้น    ในบรรดา  (ชวนะ)   จิต  ๗  ชวนะ
ชวนเจตนาดวงแรก ที่เป็นกุศลหรืออกุศล ในชวนวิถีแรก  ชื่อว่า ทิฏฐธรรม
เวทนียกรรม.
ทิฏฐธรรมเวทนียกรรมนั้น   ให้วิบากในอัตภาพนี้เท่านั้น    ที่เป็นกุศล
อำนวยวิบากในอัตภาพนี้  เหมือนกรรมของกากวฬิยเศรษฐีและปุณณกเศรษฐี
เป็นต้น    ส่วน   ที่เป็นอกุศล    (อำนวยผลในอัตภาพนี้)    เหมือนกรรมของ
นันทยักษ์   นันทมาณพ   นันทโคฆาต   ภิกษุโกกาลิกะ   พระเจ้าสุปปพุทธะ
พระเทวทัต     และนางจิญจมาณวิกา     เป็นต้น.     แต่เมื่อไม่สามารถให้ผล
อย่างนั้น   จะเป็นอโหสิกรรมไป   คือ  ถึงความเป็นกรรมที่ไม่มีผล  กรรมนั้น
พึงสาธกด้วยข้อเปรียบกับพรานเนื้อ.

อุปมาด้วยนายพรานเสือ

เปรียบเหมือนลูกศรที่นายพรานเนื้อ   เห็นเนื้อแล้วโก่งธนูยิงไป   ถ้า
ไม่พลาด    ก็จะทำให้เนื้อนั้นล้มลงในที่นั้นเอง  ลำดับนั้น  นายพรานเนื้อก็จะ
ถลกหนังเนื้อนั้นออก  เฉือนให้เป็นชิ้นน้อยชิ้นใหญ่  ถือเอาเนื้อไปเลี้ยงลูกเมีย
แต่ถ้าพลาด  เนื้อจะหนีไป   ไม่หันกลับมาดูทิศนั้นอีก   ฉันใด  ข้ออุปไมยนี้
ก็พึงทราบฉันนั้น.    อธิบายว่า    การกลับได้วาระแห่งวิบากของทิฏฐิธรรม
เวทนียกรรม    เหมือนกับลูกศรที่ยิงถูกเนื้อโดยไม่พลาด    การกลับกลายเป็น
กรรมที่ไม่มีผล  เหมือนลูกศรที่ยิงพลาดฉะนั้น  ฉะนี้แล.

อธิบายอุปปัชชเวทนียกรรม

ส่วนชวนเจตนาดวงที่ ๗  ที่ยังประโยชน์ให้สำเร็จ   ชื่อว่า  อุปปัชช
เวทนียกรรม.  อุปปัชชเวทนียกรรมนั้น     อำนวยผลในอัตภาพต่อไป  แต่

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 123

ในบรรดากุศลอกุศลทั้งสองฝ่ายนี้  อุปปัชชเวทนียกรรมในฝ่ายที่เป็นกุศล  พึง
ทราบด้วยสามารถแห่งสมาบัติ  ๘  ในฝ่ายที่เป็นอกุศล    พึงทราบด้วยสามารถ
แห่งอนันตริยกรรม ๕.  บรรดากรรมทั้งสองฝ่ายนั้น  ผู้ที่ได้สมาบัติ  ๘  จะเกิด
ในพรหมโลก ด้วยสมาบัติอย่างหนึ่ง. ฝ่ายผู้กระทำอนันตริยกรรม ๕ จะบังเกิด
ในนรกด้วยกรรมอย่างหนึ่ง.  สมาบัติที่เหลือ และกรรม (ที่เหลือ) จะถึงความ
เป็นอโหสิกรรมไปหนด  คือเป็นกรรมที่ไม่มีวิบาก.   แม้ความข้อนี้    พึงทราบ
ตามข้อเปรียบเทียบข้อแรกเทอญ.

อธิบายอปรปริยายเวทนียกรรม

ก็ชวนเจตนา ๕ ดวง  ที่เกิดขึ้นในระหว่าง แห่งชวนะ ๒ ดวง (ชวน
เจตนาดวงที่ ๑  และชวนเจตนาดวงที่ ๗)  ชื่อว่า อปรปริยายเวทนียกรรม.
อปรปริยายเวทนียกรรมนั้น   ได้โอกาสเมื่อใดในอนาคตกาล  เมื่อนั้น จะให้ผล
เมื่อความเป็นไปแห่งสังสารวัฏฏะยังมีอยู่    กรรมนั้นจะชื่อว่า  เป็นอโหสิกรรม
ย่อมไม่มี. กรรมทั้งหมดนั้นควรแสดงด้วย (เรื่อง) พรานสุนัข.  เปรียบเหมือน
สุนัขที่นายพรานเนื้อปล่อยไป เพราะเห็นเนื้อ จึงวิ่งตามเนื้อไป ทันเข้าในที่ใด
ก็จะกัดเอาในที่นั้นแหละ ฉันใด กรรมนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน   ได้โอกาสในที่ใด
ก็จะอำนวยผลในที่นั้นทันที.  ขึ้นชื่อว่าสัตว์  จะรอดพ้นไปจากกรรมนั้น   เป็น
ไม่มี.
.
.
.
.
**************************************