กล่าวนำและทำความเข้าใจ

กล่าวนำและทำความเข้าใจ

Blog นี้จัดทำขึ้นเนื่องจากการที่ตั้งใจศึกษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าและหลักการปฏิบัติตนตามหลักคำสอนอย่างถูกต้อง
เพราะในปัจจุบันคนเราเน้นการทำบุญโดยเอาความสะดวกสบายและง่ายเข้าว่า โดยบ้างครั้งอาจจะผิดหลักคำสอนจนความตั้งใจทำบุญจริงๆนั้นกลายมาเป็นบาป และบ้างครั้งอาจจะหลงผิดใช้เงินกับการทำบุญที่ผิดวิธีจนได้บาปเช่นกัน แต่เราก็สามารถทำบุญอย่างง่ายๆและถูกต้องได้เช่นกัน ดังนั้นเราจึงต้องรู้หลักการปฏิบัติที่ถูกต้องเพื่อที่จะได้บุญจริงๆ

บทความใน Blog นี้จึงขอมุ่งเน้นหยิบยกเนื้อหาอ้างอิงจากพระไตรปิฏกเป็นหลักและบทความจากผู้ที่ศึกษาพระไตรปิฏกอย่างจริงจังที่น่าจะเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน การทำ Blog นี้มีเจตนาเพื่อเป็นอีกหนึ่งทางที่สำหรับผู้คนอาจจะพบเห็นและได้ศึกษาธรรมมากขึ้น

"การศึกษาอะไรที่ยิ่งใหญ่ อาจจะมาจากเรื่องที่เราสงสัยเล็กๆเพียงเรื่องเดียว"

***ทั้งนี้เนื้อหาที่ได้ลงไปใน Blog ผู้อ่านควรใช้วิจารณญาณและศึกษาจากพระไตรปิฏกควบคู่ไปด้วยเพราะอาจมีการคลาดเคลื่อนของเนื้อหา เพื่อผู้อ่านจะได้รับความรู้ที่ตรงและถูกต้องที่สุดครับ***

วันพุธที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2557

สัตว์ผู้มีบารมีบำเพ็ญไว้แล้วก็ยังหลงได้

สัตว์ผู้มีบารมีบำเพ็ญไว้แล้วก็ยังหลงได้



ในเรื่องบุรพกรรมของพระมหาโมคคัลลานะนั้นพอได้อ่านแล้วผมได้สะดุดกับคำของพระศาสดาที่ว่า

"สัตว์ผู้มีบารมีบำเพ็ญไว้แล้วแม้เห็นปานนั้น   ก็แตกกับมารดาบิดาได้"

ขนาดท่านผู้บำเพ็ญบารมีเพื่อที่จะเป็นสาวกก็ยังมีการหลงได้ แล้วเรานั้นได้ศึกษามากน้อยขนาดไหนที่จะได้ไม่หลงไปบ้างเลย  แต่ถ้าเมื่อรู้ว่าหลงแล้วจะสามารถกลับคืนหรือแก้ไขได้หรือไม่นั้นเป็นสิ่งที่สำคัญครับ


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 99

พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า  " ภิกษุทั้งหลาย   บัดนี้    พวกเธอ
นั่งประชุมกันด้วยกถาอะไรหนอ ? " เมื่อภิกษุเหล่านั้น  กราบทูลว่า " ด้วย
กถาชื่อนี้   พระเจ้าข้า "  ดังนี้แล้วตรัสว่า   " ภิกษุทั้งหลาย  โมคคัลลานะ
มรณภาพไม่สมควรแก่อัตภาพนี้เท่านั้น,        แต่เธอถึงมรณภาพสมควรแท้
แก่กรรมที่เธอทำไว้ในกาลก่อน "    อันภิกษุทั้งหลายทูลถามว่า  " ก็บุรพ-
กรรมของท่านเป็นอย่างไร ?  พระเจ้าข้า "   ได้ตรัส  (อดีตนิทาน) อย่าง
พิสดาร (ดังต่อไปนี้) :-

บุรพกรรมของพระมหาโมคคัลลานะ

ดังได้สดับมา  ในอดีตกาล  กุลบุตรผู้หนึ่ง  เป็นชาวเมืองพาราณสี
ทำกิจต่าง ๆ มีตำข้าวและหุงต้มเป็นต้นเองทั้งนั้น      ปรนนิบัติมารดาบิดา.
ต่อมา  มารดาบิดาของเขา  พูดกะเขาว่า  " พ่อ เจ้าผู้เดียวเท่านั้น
ทำงานทั้งในเรือน  ทั้งในป่า  ย่อมลำบาก,    มารดาบิดาจักนำหญิงสาวคน
หนึ่งมาให้เจ้า,"    ถูกเขาห้ามว่า   ' คุณแม่และคุณพ่อ  ผมไม่ต้องการด้วย
หญิงสาวเห็นปานนั้น,    ผมจักบำรุงท่านทั้งสองด้วยมือของผมเอง   ตราบ
เท่าท่านทั้งสองยังมีชีวิตอยู่ "   ก็อ้อนวอนเขาแล้ว ๆ เล่า ๆ แล้วนำหญิง-
สาวมา (ให้เขา).

หญิงชั่วยุยงผัวฆ่ามารดาบิดา

หญิงนั้นบำรุงแม่ผัวและพ่อผัวได้เพียง ๒-๓ วันเท่านั้น    ภายหลัง
ก็ไม่อยากเห็นท่านทั้งสองนั้นเลย  จึงบอกสามีว่า  " ฉันไม่อาจอยู่ในที่แห่ง
เดียวกับมารดาบิดาของเธอได้ "  ดังนี้แล้ว   ติเตียน (ต่าง ๆ นานา) เมื่อ
สามีนั้นไม่เชื่อถ้อยคำของตน,   ในเวลาสามีไปภายนอก  ถือเอาปอ ก้านปอ
และฟองข้าวยาคู  ไปเรี่ยรายไว้ในที่นั้น ๆ (ให้รกรุงรังเลอะเทอะ)  สามีมา
แล้ว   ก็ถามว่า " นี้  อะไรกัน "   ก็บอกว่า " นี่  เป็นกรรมของคนแก่ผู้
บอดเหล่านี้,   แกทั้งสองเที่ยวทำเรือนทั่วทุกแห่งให้สกปรก. ฉันไม่อาจ
อยู่ในที่แห่งเดียวกันกับแกทั้งสองนั่นได้.

เชื่อเมียต้องเสียพ่อแม่

เมื่อหญิงนั้น    บ่นพร่ำอยู่อย่างนั้น.     สัตว์ผู้มีบารมีบำเพ็ญไว้แล้ว
แม้เห็นปานนั้น   ก็แตกกับมารดาบิดาได้.  เขาพูดว่า " เอาเถอะ, ฉันจักรู้
กรรมที่ควรทำแก่ท่านทั้งสอง "  ดังนี้แล้ว   เชิญมารดาบิดาให้บริโภคแล้ว
ก็ชักชวนว่า " ข้าแต่พ่อและแม่   พวกญาติในที่ชื่อโน้น    หวังการมาของ
ท่านทั้งสองอยู่.  ผมจัก  (พา) ไปในที่นั้น  "  ดังนี้แล้ว  ให้ท่านทั้งสองขึ้น
สู่ยานน้อยแล้วพาไป  ในเวลาถึงกลางดงลวงว่า    " คุณพ่อขอรับ  ขอพ่อ
จงถือเชือกไว้.  โคทั้งสองจักไปด้วยสัญญาแห่งปฏัก,  ในที่นี้มีพวกโจรซุ่ม
อยู่,  ผมจะลงไป "   ดังนี้แล้ว    มอบเชือกไว้ในมือของบิดา   ลงไปแล้ว
ได้เปลี่ยนเสียงทำให้เป็นเสียงพวกโจรซุ่มอยู่.

มารดาบิดาสิเนหาในบุตรยิ่งกว่าตน

มารดาบิดาได้ยินเสียงนั้น ด้วยสำคัญว่า " พวกโจรซุ่มอยู่ " จึงกล่าว
ว่า  " ลูกเอ๋ย   แม่และพ่อแก่แล้ว,   เจ้าจงรักษาเฉพาะตัวเจ้า  (ให้พ้นภัย)
เถิด."  เขาทำเสียงดุจโจร  ทุบตีมารดาบิดา  แม้ผู้ร้องอยู่อย่างนั้นให้ตาย
แล้ว   ทิ้งไว้ในดง  แล้วกลับไป.

ผลของกรรมชั่วตามสนอง

พระศาสดา ครั้นตรัสบุรพกรรมนี้ของพระมหาโมคคัลลานะนั้นแล้ว
ตรัสว่า  " ภิกษุทั้งหลาย  โมคคัลลานะ  ทำกรรมประมาณเท่านี้ไหม้ใน
นรกหลายแสนปี, ด้วยวิบากที่ยังเหลือ จึงถูกทุบตีอย่างนั้นนั่นแล  ละเอียด
หมด ถึงมรณะ สิ้น ๑๐๐ อัตภาพ,   โมคคัลลานะ ได้มรณะอย่างนี้ ก็พอ
สมแก่กรรมของตนเองแท้.    พวกเดียรถีย์ ๕๐๐ กับโจร ๕๐๐  ประทุษ-
ร้ายต่อบุตรของเราผู้ไม่ประทุษร้าย  ก็ได้มรณะที่เหมาะ (แก่กรรมของเขา)
เหมือนกัน,    ด้วยว่า  บุคคลผู้ประทุษร้ายต่อบุคคลผู้ไม่ประทุษร้าย  ย่อม
ถึงความพินาศฉิบหายด้วยเหตุ  ๑๐  ประการเป็นแท้  "  ดังนี้แล้ว   เมื่อจะ
ทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม  จึงได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า

๗.  โย  ทณฺเฑน  อทณฺเฑนสุ         อปฺปทุฏฺเสุ  ทุสฺสติ
ทสนฺนมญฺตร  าน             ขิปฺปเมว  นิคจฺฉติ
เวทน  ผรุส  ชานึ                   สรีรสฺส  จ  เภทน
ครุก  วาปิ   อาพาธ               จิตฺตกฺเขป  ว ปาปุเณ
ราชฺโต  วา  อุปสคฺค               อพฺภกฺขาน  ว  ทารุณ
ปริกฺขย  ว   ญาตีน                 โภคาน ว ปภงฺคุณ
อถ  วาสฺส อคารานิ                อคฺคิ  ฑหติ  ปาวโก
กายสฺส  เภทา  ทุปฺปญฺโ        นิรย  โส  อุปปชฺชติ.

" ผู้ใด    ประทุษร้ายในท่านผู้ไม่ประทุษร้ายทั้ง
หลาย ผู้ไม่มีอาชญา  ด้วยอาชญา  ย่อมถึงฐานะ  ๑๐
อย่าง   อย่างใดอย่างหนึ่งพลันทีเดียว  คือ   ถึงเวทนา
กล้า ๑  ความเสื่อมทรัพย์ ๑   ความสลายแห่งสรีระ ๑
อาพาธหนัก  ๑ ความฟุ้งซ่านแห่งจิต  ๑  ความขัดข้อง
แต่พระราชา ๑  การถูกกล่าวตู่อย่างร้ายแรง ๑  ความ
ย่อยยับแห่งเครือญาติ  ๑   ความเสียหายแห่งโภคะ
ทั้งหลาย ๑  อีกอย่างหนึ่ง   ไฟป่าย่อมไหม้เรือนของ
เขา,   ผู้นั้นมีปัญญาทราม  เพราะกายแตก    ย่อมเข้า
ถึงนรก."

*********************************************